การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา A

Main Article Content

Jirayu Songkhro

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคณะในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะภาษาอังกฤษในทัศนะของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกหลักสูตรสาขาวิชา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน จำนวน  570 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบบันทึกเกรดรายวิชาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน และแบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษในทัศนะของนักศึกษา  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ ANOVA  ผลการวิจัยพบว่า คณะศิลปศาสตร์มีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษรายวิชาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบคณะอื่น ๆ  โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 (= 3.25) รองลงมาคือ คณะวิชาบริหารธุรกิจ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.60 (= 2.60)  และ 2.32 (= 2.32)  ตามลำดับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เมื่อเปรียบเทียบกับคณะอื่น ๆ  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05  และภาพรวมด้านพฤติกรรมในการพัฒนาสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาอยู่ในระดับบางครั้ง (= 3.02) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ เทอเนอร์, ธัญญวลัย บุญประสิทธิ์, และสุนทรี ภิญโญมิตร. (2553). ผลการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาพยาบาลโดยบูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 3(2), 28-43.

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. ความหมายของสมรรถนะ กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

ดีเด่น เบ็ญฮาวัน .(2556). ทัศนคติและพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับต่ำ.วิทยานิพนธ์ศิปศาสตรมหาบัณฑิต. (สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษนานาชาติ).ปัตตานี, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปัตตานี.

ธนวัฒน์ อรุณสุขสว่าง และ นรินทร์ สังข์รักษา .(2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษตามทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 493-505.

ไพบูลย์ สุวิจิตร .(2552). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุม. งานวิจัยในชั้นเรียน, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. กรุงเทพฯ.

ศุภิกา นิรัติศัย .(2561). ทัศนคติ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 138-170.

Nguyen, H. & Terry, D. (2017) English Learning Strategies among EFL Learners: A Narrative Approach IAFOR. Journal of Language Learning, 3(1), 4-19.

Su, M. (2005). A Study of EFL Technological and Vocational Students’ Language Learning Strategies and Their Self-Perceived English Proficiency. Electronic Journal of Foreign Language Teaching, 2(1) 44-56.