ระบำนกยูงร่วมสมัยของ หยาง ลี่ ผิง ศิลปินแห่งชาติมณฑลยูนนาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องระบำนกยูงร่วมสมัยของ หยาง ลี่ ผิง ศิลปินแห่งชาติมณฑลยูนนาน มีความมุ่งหมาย 1.เพื่อศึกษาต้นกำเนิดของระบำนกยูง 2.เพื่อศึกษาองค์ประกอบและนาฏยประดิษฐ์การแสดงระบำนกยูงของ หยาง ลี่ ผิง เป็นการศึกษาจากเอกสารและภาคสนาม โดยใช้แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ ผู้รู้จำนวน 3 คน ผู้ปฏิบัติจำนวน 5 คน ผู้ให้ข้อมูลทั่วไปจำนวน 20 คน แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า ระบำนกยูง เป็นศิลปะการร่ายรำที่มีชื่อเสียงของชาวยูนนาน ที่ใช้ร่างกายเลียนแบบท่าทางการเคลื่อนไหว การรำแพนของนกยูงสะท้อนวัฒนธรรมของชาวยูนนาน ได้อย่างชัดเจนและงดงามเนื่องจากในมณฑลยูนานมีนกยูงเป็นจำนวนมาก มีทั้งนกยูงป่าและนกยูงเลี้ยง ชาวบ้านนับถือนกยูงว่าเป็นนางพญาแห่งนกและเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำชนเผ่า จนกลายมาเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งจนได้รับการขนานนามว่า “ดินแดนแห่งนกยูง” การเต้นรำหรือระบำนกยูงเกิดขึ้นมานานและสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จนมาถึง หยาง ลี่ ผิง ศิลปิน นักแสดง และนักออกแบบท่าเต้นของมณฑลยูนนาน ได้นำระบำนกยูงมาประดิษฐ์สร้างขึ้นใหม่ ทั้งรูปแบบการแสดง กระบวนท่าเต้น เครื่องแต่งกาย และดนตรีประกอบ หยาง ลี่ ผิง เป็นศิลปินแห่งชาติจีนที่มีชื่อเสียงมายาวนาน และมีลีลาการเต้นระบำนกยูงที่ออกแบบผสมผสานความเป็นนกยูงในแบบดั้งเดิมกับการเต้นรำแบบจีนสมัยใหม่อย่างงดงาม และเป็นที่ยอมรับจากผู้ชมทั่วโลก ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาการเต้นระบำนกยูงที่มีความงดงามจากการผสมผสานของเดิมและการเต้นสมัยใหม่ จัดแสดงเป็นระบำโชว์เดี่ยว ที่สร้างชื่อเสียงให้กับชาวยูนนานและประเทศจีน
Article Details
References
และวีดีโอชนชาติยูนาน.
ธนสิทธิ์ ชิดชม. (2561). อัตลักษณ์ระบำนกยูงอาเซียน. วารสารศิลป์ปริทัศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม-
ธันวาคม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน. (2558). นิทรรศกาล “ต่างคล้าย ใช่เลย ในการแสดงพื้นบ้านอาเซียน ครั้งที่
1”หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินกลาง ชั้น 3 ถนนราชดำเนินกลาง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วันที่ 17-18 ตุลาคม
WANG YANG. (2558). มรดกและการพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของชนกลุ่มน้อย
ชายแดนและการส่งเสริมพลังอำนาจทางวัฒนธรรมแห่งชาติ. (ฉบับภาษาไทย) วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยยูนาน.
ZHANG SHASHA. (2543). การสืบทอดและการแปรปรวนของการเต้นรำนกยูงของคนได. (ฉบับภาษาไทย).
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยยูนาน.