ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจ (หลักสูตรภาษาจีน) ในประเทศไทยของนักศึกษาจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจ (หลักสูตรภาษาจีน) ในประเทศไทยของนักศึกษาจีนเพื่อศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านเหตุผลส่วนตัว ปัจจัยทางด้านภาพลักษณ์ และปัจจัยทางด้านหลักสูตรที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจ (หลักสูตรภาษาจีน) ในประเทศไทยของนักศึกษาจีน จากศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันที่อยู่ในระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจ (หลักสูตรภาษาจีน) สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จำนวนตัวอย่าง 177 คน โดยใช้สูตรของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p.608-609) ที่ความคลาดเคลื่อนเท่ากับ .05 ซึ่งใช้แบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบปกติ (Multiple Regression Analysis-MRA)
ผลการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 24-29 ปี มีอาชีพอื่น ๆ อายุงาน 5 ปี ขึ้นไป รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 30,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยทางด้านเหตุผลส่วนตัวมีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจ (หลักสูตรภาษาจีน) ในประเทศไทยของนักศึกษาจีน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เรื่องความสนใจในสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจ (หลักสูตรภาษาจีน) ในประเทศไทยของนักศึกษาจีน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ปัจจัย ทางด้านภาพลักษณ์มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจ (หลักสูตรภาษาจีน) ในประเทศไทยของนักศึกษาจีน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทางด้านภาพลักษณ์ของสถาบัน เรื่องเป็นมหาวิทยาลัยที่มีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับต่างประเทศ และเรื่องเมื่อจบการศึกษาแล้วจะได้รับการยอมรับจากตลาดแรงงาน มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจ (หลักสูตรภาษาจีน) ในประเทศไทยของนักศึกษาจีน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2550. การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: โรง
พิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนวรรณ รักอู่. (2557). การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีของนักศึกษาภาคปกติ ปีการศึกษา 2556. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี).
นางสาววารุณี รักด้วง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจ ที่มหาวิทยาลัยสยาม. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม).
น้ำทิพย์ เนียมหอม. (2560). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่ออาชีวศึกษา ในวิทยาลัยเทคโนโลยีวิบูลย์บริหารธุรกิจ รามอินทรา. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, วิทยาลัยเทคโนโลยีวิบูลย์บริหารธุรกิจ).
ภัคชุดา เสรีรัตน์1 , สุจิตรา จรจิตร2, วัน เดชพิชัย3. (2561). ปัจจัยจำแนกการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาของนักเรียนในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย. (วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
รุจิรา คงนุ้ย เอกชัย เนาวนิช ทักษิณา เครือหงส์ วนิดา วงศ์บรรณาคม และกัญญลักษณ์ ทรัพย์กระจ่าง. (2559). ปัจจัยในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิปีการศึกษา 2559. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ).
อุทุมพร ไวฉลาด และจงดี โตอิ้ม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).
นางสาวศศิวิมล แสนเมือง. (2554). ปัจจัยทีส่งผลต่อการตั้งใจเลือกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีของนักเรียนที่มีผลการเรียนดี ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี).
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement. 30 (3) : 608-609.
Hip-th.me, by Rujirada Nakrung, 2019, สืบค้นจาก https://hip-th.me/news-update-2/
www.admissionpremium.com, by Admission Premium, 2016, สืบค้นจาก
https://www.admissionpremium.com/content/807)
www.sanook.com, by China Xinhua News, 2019, สืบค้นจาก
https://www. sanook.com/news/7727818/)
www.pim.ac.th, by สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, 2021, สืบค้นจาก https://
www.pim.ac.th/about