ความลางเลือนที่ไม่เลือนราง : ภาพลักษณ์และธรรมเนียมปฏิบัติของการแต่งหน้าผู้ประกาศข่าวไทย

Main Article Content

กฤษณ์ คำนนท์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพลักษณ์อันเกิดจากการใช้รหัสในการสื่อความหมายของการแต่งหน้าของผู้ประกาศข่าว  และการตีความเนื้อหาของการแต่งหน้าจากมุมองวิธีวิทยาทางภาพ (Visual Methodologies) ผลการศึกษาพบว่าการสื่อสารด้วยการแต่งหน้าของผู้ประกาศข่าวมีการใช้รหัสทางสังคม (Social code) รหัสทางวัฒนธรรม (Culture code) รหัสซับซ้อน (Elaborated Code) รหัสที่สื่อสารกับผู้รับสารจำนวนมาก (Broadcast Code) และรหัสภาพแทน (Representation Code) มาใช้ในการกำหนดความหมายของการแต่งหน้าให้เกิดขึ้น ทั้งนี้ยังพบว่าการตีความของการแต่งหน้าต้องพื้นฐานทั้งหมด 5 ด้าน คือ 1. ด้านเนื้อหา (Content) เกิดการผสมรวมของโครงสร้างการแต่งหน้า และองค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ 2. ด้านสี (Color) มีการใช้สีที่อ่อนซึ่งเป็นสีที่มีพื้นฐานมาจากธรรมชาติในการแต่งหน้า 3. ด้านการจัดวางองค์ประกอบเชิงพื้นที่ (Spatial organization) มีการจัดตำแหน่งต่าง ๆ ของการแต่งหน้าอย่างเป็นระบบ โดยมีการการสร้างจุดเด่น (Dominance) ในการแต่งหน้า 4. ด้านแสง (Light) ได้นำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความโดดเด่นและแก้ไขอำพรางจุดด้อยบนใบหน้า และ 5. ด้านการแสดงออกของอารมณ์ภาพ (Expression content) ผ่านการแสดงออกทางด้านอารมณ์ที่แฝงอยู่ในรหัสและทำหน้าที่อัตตะภาษา คือ “ความสวยงามและความน่าเชื่อถือ”

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
กาญจนา แก้วเทพ. (2541). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: อินฟินิตี้เพรส.
กิตติวรรณ ปุงบางกระดี่ (2540). การวิเคราะห์บทบาทของหนังสือพิมพ์รายวันต่อการสร้างภาพลักษณ์ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ในช่วงปี 2523-2539. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรบัณฑิต. สาขาวิชาการหนังสือพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุทธนา สุวรรณรัตน์. (2559). การข้ามผ่านทางการสื่อสารของบทพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน‎พ.ศ.‎2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วรรณี งามขจรกุลกิจ. (2562). ความคิดเห็นต่อการอบรมหลักสูตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และการกำหนดให้บัตรผู้ประกาศมีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย. ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14, 950-960. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สนมพร ฉิมเฉลิม. (2542). กระบวนการคัดเลือกผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาธิดา เตชะภัทรพร. (2541). บทบาทของการแต่งหน้าในฐานะเป็นส่วนขยายความรู้สึกทางด้านจิตใจในสื่อวิทยุโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุปราณี ศิริสวัสดิ์ชัย. (2560). สมรรถนะของผู้ประกาศในสื่อวิทยุและโทรทัศน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 13(1), 180-200.
สุภวัฒน์ สงวนงาม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกรับชมรายการข่าวของสถานีโทรทัศน์ของ ผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเนชั่น.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2563). สารกับการสื่อความหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์ จำกัด.

ภาษาอังกฤษ
Bernstein, B. (1971). Class, Codes and Control. Volume 1: Theoretical Studies towards a Sociology of Language. London: Routledge & Kegan Paul.
Boorstin, D. (1973). The Image: A Guide to Pseudo-Events in America. New York: Atheneum.
Boulding, K. (1975). The Image: Knowledge in Life and Society. Michigan: The University of Michigan.
Chandler, D. (2002). Emiotics: The basics. London: Routledge.
Fang, I. (1972). Television news. 2nd Edition. New York: Hasting House.
Fidler, Roger F. (1997). Mediamorphosis: understanding new media. Thousand Oaks, Calif: Pine Forge Press.
Fiske, J. (1990). Introduction to Communication Studies. London and New York: Routledge.
______. (1982). Introduction to Communication Studies. London: Routledge.
Hirschman, A. (1970). Exit, Voice, and Loyalty: Responses to Decline in Fims, Organizations, and States. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Hyde, S. (1995). Television And Radio Announcing. 7th Edition. USA: Houghton Mifflin.
Middleton, J. (1980). Approaches to communication Planning. Paris: Unesc.
Rose, G. (2007). Visual Methodologies. An Introduction to Researching with Visual Materials. 2nd Edition. London: Sage.
White, R. (1990). TV News. London: Focal Press Limited.
Yorke, I. (1995). Television News. 3rd Edition. Great Britain: Focal Press.