การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการผลิตผลงานวิจัยของอาจารย์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ -
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อนโยบายด้านการวิจัย
การรับรู้ตน ด้านความรู้ในการวิจัย ทัศนคติต่อการวิจัย และแรงจูงใจในการผลิตผลงานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 2) เพื่อหาความสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการผลิตผลงานวิจัยของอาจารย์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2562 จำนวน 208 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ด้านนโยบายการวิจัย ด้าน
การรับรู้ตน ด้านความสามารถในการวิจัย ด้านทัศนคติต่อการวิจัยและด้านแรงจูงใจในการผลิตผลงานวิจัย จำนวน 36 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์คาโนนิคอล ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการผลิตผลงานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 3.56 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 3.90 รองลงมาเป็นด้านทัศนคติต่อการวิจัย มีค่าเฉลี่ย 3.64 และการรับรู้ความสามารถในการทำวิจัยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.51 2. ผลการวิเคราะห์ความสหสัมพันธ์คาโนนิคอลปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการผลิตผลงานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ โดยมีค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Rc) คู่แรกที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีค่า R2c (คู่แรก) เท่ากับ .4489 แสดงว่า ตัวแปรประสบการณ์ในการสอน นโยบายการวิจัยของสถาบัน การรับรู้ความสามารถในการวิจัย ทัศนคติต่อการวิจัยที่นำมาศึกษามี ค่าความแปรปรวนร่วมกันกับแรงจูงใจในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ร้อยละ 44.89 โดยมีค่า สัมประสิทธิ์มาตรฐานตัวแปรที่มีความสำคัญในการคำนวณฟังก์ชันโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง ทัศนคติต่อการวิจัย นโยบายการวิจัยของสถาบัน การรับรู้ความสามารถในการวิจัย แรงจูงใจในความก้าวหน้าของหน้าที่การงาน ประสบการณ์ในการสอน ส่วนตัวแปรจำนวนชั่วโมงในการสอนไม่มี ความสำคัญในการคำนวณฟังก์ชั่นคาโนนิคอล
Article Details
References
จิรารัตน์ ภูสีฤทธิ์, สีดา สอนศรีและยุพา คลังสุวรรณ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทําวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนระดับพนักงานปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 34(3) พฤษภาคม – มิถุนายน 2558 : 31-35.
ฐิติพร ตันติศรียานุรักษ์,รัชฎา ธิโสภาและอรดา เกรียงสินยศ. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อการท าวิจัยของบุคลากรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (รายงานการวิจัย).กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
นพวรรณ รื่นแสง เบญจมาศ เป็นบุญ และ วรวรรณ สโมสรสุข. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานวจิยัของบุคลากรสายสนับสนุนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. หน่วยวิเคราะห์แผนงบประมาณและวิจัยสถาบัน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ( รายงานการวิจัย.
น้ำฝน พลอยนิลเพชร และคณะ. (2559). วิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดสงขลา. รายงานการวิจัย
ปรารถนา อเนกปัญญากุล. (2557). ปัจจัยที่ส่งผล ต่อพฤติกรรมการทำวิจัยของบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารนเรศวรพะเยา,7 (3) , 275-285.
วรางคณา ผลประเสริฐ. (2559). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์. จาก http://www.stou.ac.th/schools/Shs/upload/หน่วยที่1 ชุด วิชา%2058708.pdf.ค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561
วณิดา พิงสระน้อย. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ.
วิไลวรรณ จันน้ำใส. (2555). ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กรุงเทพ.
สมเจตน์ นาคเสวี อุสมาน ราษฎร์นิยม และยุสนา เจะเลาะ .(2550). ศึกษาเจตคติต่อการวิจัยและ ปัจจัยที่เอื้อต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของบุคลากรวิทยาลัยอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. (รายงานวิจัย) ปัตตานี.
สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์. (2562). จำนวนอาจารย์ที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ปี 2562. รายงานข้อมูลบุคลากร.