ห่วงโซ่อุทานข้าวอินทรีย์ในจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

มานิดา เชื้ออินสูง

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การศึกษาห่วงโซ่อุปทานข้าวอินทรีย์ในจังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสำรวจข้อมูลผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานข้าวอินทรีย์ในจังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีความเชื่อมโยงกันตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานด้านปริมาณ รายได้/มูลค่าที่เกษตรกรได้รับในห่วงโซ่อุปทานข้าวอินทรีย์ในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ บริษัทออร์แกนิคสุพรรณบุรี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมเกษตรกรอินทรีย์ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน และข้าวส่งออก-บ้านสวนข้าวขวัญนาข้าวอินทรีย์ วิธีการศึกษา คือ การประชุมกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่ม และประชุมกลุ่มใหญ่ รวมภาครัฐ ร้านค้าปลีก ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อหาแนวทางพัฒนาเพื่อยกระดับเป็นโซ่คุณค่า ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรต้นน้ำทั้ง 4 กลุ่ม ประกอบด้วย ตัวเกษตรกร ผู้ขายปัจจัยการผลิต ภาครัฐ สถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน หน่วยงานตรวจรับรอง กลางน้ำ ได้แก่ โรงสีข้าวตนเองและโรงสีข้าวชุมชน ปลายน้ำ ได้แก่ ผู้บริโภคที่ซื้อข้าวอินทรีย์จากเกษตรกรโดยตรง ผู้แปรรูป ผู้ค้าปลีก ผู้ค้าส่ง เกษตรกรที่ซื้อพันธุ์ข้าวปลูก ผู้ส่งออก และตลาดชุมชน ผลการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานข้าวอินทรีย์ในจังหวัดสุพรรณบุรีด้านปริมาณ รายได้และมูลค่าที่เกษตรกรได้รับมีมูลค่ารวมทั้งห่วงโซ่ 6,608,100 บาท ผลผลิตรวมเฉลี่ยต่อราย 34.2 ตัน/ไร่/ปี ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 26.94 บาท/กิโลกรัม ราคาที่เกษตรกรผู้ปลูกขายได้เฉลี่ย 48.75-80 บาท/กิโลกรัม และผลตอบแทนที่เกษตรกรได้รับเฉลี่ย 21.80-53 บาท/กิโลกรัม ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะให้มีการศึกษาเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ข้าวอินทรีย์ในจังหวัดสุพรรณบุรี

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

มานิดา เชื้ออินสูง, 089 262 7616

  1. ชื่อ ผศ. ดร. มานิดา  เชื้ออินสูง
  2. ตำแหน่งปัจจุบัน อาจารย์
  3. สถานที่ทำงาน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต  วิทยาเขตสุพรรณบุรี 

                                                                    เลขที่  57 หมู่ 2 ถนนสุพรรณบุรี-ป่าโมก ตำบลโคกโคเฒ่า

                                       อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 72000

                                          โทรศัพท์ 089-262-7616  โทรสาร 035-969620-23

                                      E-Mail :  manida_chu@dusit.ac.th

  1. ประวัติการศึกษา ศิลปศาสตร์บัณฑิต (การสื่อสารมวลชน) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

                             บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ)  มหาวิทยาลัยรามคำแหง       

                               บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บริหารธุรกิจ)  มหาวิทยาลัยรามคำแหง       

  1. ระบุสาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
  2. ประสบการณ์การทำงาน (เรียงจากปัจจุบัน-อดีต)

   1) อาจารย์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี ปี 2557-ปัจจุบัน

2) อาจารย์แขนงการตลาด ศูนย์พิษณุโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ปี 2545- 2557      

3) อาจารย์พิเศษ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตลำปาง ปี 2544-2545

4) ผู้จัดรายการ ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 3 ลำปาง ปี 2537-2539

   5) Group Leader Purchasing Control Supervisor-  Thai Stanley Electric Public Company   Limited  ปี 2532-2537

6) Export Officer - Merlan et delauny Co., Ltd.  ปี 2531-2532

7) Import Officer - SHARP (Appliance) Thailand Co., Ltd. ปี 2530-2531    

  1. วิทยากร

          โครงการพัฒนาขีดความสามารถการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย- เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี 7 กุมภาพันธ์ 2562

โครงการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย-เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี 11,20 เมษายน 2561

          โครงการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการประกอบอาชีพตามแนวทางประชารัฐ-องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี 14 มิถุนายน 2561

          โครงการพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่-เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี 5-6, 9-10 กรกฎาคม 2561

          อบรมร้านค้าธงฟ้าประชารัฐรายภูมิภาค-พาณิชย์จังหวัดสุพรรณบุรี 20-23 สิงหาคม 2561

 

  1. งานอื่น

             คณะทำงานโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2559 และปีงบประมาณ 2560    

             คณะทำงานจัดทำร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี

             คณะทำงานติดตามสนับสนุนการขับเคลื่อนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ

   ปัจจุบัน – 2561 ผู้เชี่ยวชาญกองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

   ปัจจุบัน – 2562 ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี

                2563 ตรวจสอบคุณภาพบทความ วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 

  1. งานวิจัย

          ปี 2561 ศึกษาห่วงโซ่อุปทานข้าวอินทรีย์ในจังหวัดสุพรรณบุรี (ทุน สกว.RD61A0009– หัวหน้าวิจัย)

          ปี 2560 ศึกษาความสำเร็จในการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี (ทุน สกว.RD60A0024– หัวหน้าวิจัย)

    

    

 

     

References

Suphan Buri Farmers Council. (2019). Production Cost of GAP, Supporting Documents for Task Force Meeting for the Preparation of Draft Strategy for the Agricultural and Cooperative Development of Suphan Buri Province, No. 3/2019 held on Friday, November 22, 2019 at Khun Chang Meeting Hall (back), Suphan Buri City Hall.
Felea, Mihai & Albastroiu, Irina. (2013). Defining the Concept of Supply Chain Management and Its Relevance to Romanian Academics and Practitioners. Amfiteatru Economic, 15(33): 74-88.
Lambert, Douglas., Cooper, Martha & Janus, Pagh. (1998). Supply Chain Management: Implement Issues and Research Opportunities. International Journal of Logistic Management, 9(2): 1-19.
Manida Chuea-Insoong, Klaiklang Rian, Nimkoetphol Surapong, Anuchit Sangthong,
Kornkanok Makkaroon & Thaunjai Sangthong. (2019). The study of management accomplishment of the group of organic rice’s community enterprise to decrease the expenses of organic rice productions in the U-Thong district, Suphan Buri Province. The Thailand Research Fund, 2019.
Msimangira, Kabossa & Sitalakshmi, Venkatraman. (2014). Operation and Supply Chain Management: Supply Chain Management Integration: Critical Problems and Solutions. Operations and Supply Chain Management, 7 (1): 23-31.
Sharma, Vishal., Sunil, Giri,. & Siddharth Shankar, Rai. (2013). Supply chain management of rice in India: a rice processing company’s perspective. International Journal of managing value and supply chains, 4(1): 25-36.
Sunisa Yaowasakunmat, Bumpen Keowan, Benchamas Yooprasert & Somjit Yothakong. (2019). Extension Model on supply chain management of organic rice of farmers in Lower-Northeastern part of Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences, Surin Rajabhat University. 21 (1): 153-168.
Yaniga Prasertwattanakul & Pornthipa Ongkunaruk. (2016). The Improvement of a Thai Organic Rice Supply Chain: A Case Study of a Community Enterprise. KnE Life Science, 3(2015): 156-160.