การพัฒนาการใช้ภาษาบนฉลากผลิตภัณฑ์สินค้าท้องถิ่นเพื่อการดึงดูดความ สนใจในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการโน้มน้าวใจและเปรียบเทียบการใช้ภาษาระหว่างฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (OTOP) ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนระดับ 1-2 ดาวและฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น OTOP ระดับ 3-5 ดาว และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาฉลากสินค้าท้องถิ่นของจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการโน้มน้าวใจในฉลากผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 1-2 ดาว ผู้วิจัยเก็บข้อมูลฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจากศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น 25 แห่ง จำนวน 50 ฉลาก ประกอบด้วยฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นระดับ 1-2 ดาว จำนวน 25 ฉลากและฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นระดับ 3-5 ดาว จำนวน 25 ฉลาก ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีการนำเสนอข้อความอวัจนภาษาประกอบด้วยภาษาภาพที่เป็นภาพจริงและภาพกราฟฟิก ฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นใช้ภาพกราฟฟิกมากกว่าภาพจริงและใช้สีกลมกลืนมากกว่าสีเป็นสีเอกรงค์และสีตรงข้าม และขนาดตัวอักษรใช้แบบไล่ระดับขนาดตัวอักษร ฉลากผลิตภัณฑ์ระดับ 3-5 ดาวมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้ามากกว่าฉลากผลิตภัณฑ์สินค้าระดับ 1-2 ดาวส่วนข้อมูลวัจนภาษา พบว่า กลวิธีการขยายความปรากฏการใช้คำคุณศัพท์และคำกริยาวิเศษณ์บนฉลากผลิตภัณฑ์ระดับ 3-5 ดาวมากกว่าฉลากผลิตภัณฑ์ระดับ 1-2 ดาว กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรม มีการใช้วาทกรรมบอกเล่าและการกล่าวเกินจริงบนฉลากผลิตภัณฑ์ระดับ 3-5 ดาวมากกว่าฉลากผลิตภัณฑ์ระดับ 1-2 ดาว
Article Details
References
จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ; สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Abdulrahman, H. Sleeman. (2015). Translating Canned & Packed Food Products’ Labels from Arabic into English: Problems and Strategies. Thesis in Master of Applied Linguistics and Translation; Graduate studies, An-Najah National University, Nablus, Palestine.
Ernest Cyril, D. R., Teh Chin, Y. & Muhammad, K. (2012). It’s not just a brand name: The impact of language on consumer attitude and behavior. International Journal of Research Studies in Management, 1(2), pp.47-56.
Che Mat, Azman. (2014). Translation of Brand and Food Label Products into Arabic: a Preliminary Linguistically Analysis. International Journal of Language and Literatures, 2(2), pp.121-135.
Gerritsen, M. et.al. (2010). English Advertisements in Non-English-Speaking Coutries in Western Europe: Product Image and Comprehension of the Text. Journal of Global Marketing, 23, p. 349-365.
Kelly-Holmes, H. (2005). Advertising as multilingual communication. Basingstoke: Palgrave Macmillan.
Kress, G. & Van Leeuwen, T. (1997). Reading images: The grammar of visual design. London: Routledge.
Kress, G. & Van Leeuwen, T. (2006). Reading images. London: Routledge.
Lerlertyuttithum, P. (2015). Advertising Language and Persuasion. MANUSYA: Journal of Humanities, Special Issue No. 21, p.50-59.
Utomo, G. T. & Suprajitno, S. (2014). Packaging Consumption: Stylistic Device and Persuasive functions of American and Indonesia Advertising Slogans. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/327888033_Packaging_Consumption_Stylistic_Devices_and_Persuasive_Functions_of_American_and_Indonesian_Advertising_Slogans
Watcharakaweesilp, W. (2013). Persuasion in the English Language. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2(1), น. 51- 80.