เศรษฐกิจแบบฝังแฝงในสังคมการเมืองที่เป็นธรรม ในพื้นที่ลุ่มน้ำมูนจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ประจวบ จันทร์หมื่น

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการเสนอให้เห็นว่าคนชนบทที่ดำรงชีพอยู่บริเวณลุ่มน้ำมูนจังหวัดศรีสะเกษ ยังคงมีวิถีสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่ได้ตัดขาดไปจากสังคมดั้งเดิมไปเสียทั้งหมด มีลักษณะการดำรงชีพแบบจะดั้งเดิมก็ไม่ใช่จะทันสมัยก็ไม่เชิง ในด้านเศรษฐกิจรายครัวเรือนมีการพึ่งพาระบบตลาด ใช้แรงงานทำการผลิตเพื่อขายแต่ยังคงแบ่งส่วนหนึ่งไว้เพื่อดำรงชีพ นอกจากนี้ด้านสังคมและวัฒนธรรมยังมีเครือข่ายทางสังคมที่กำกับกันและกันภายใต้วิถีวัฒนธรรมคนลุ่มน้ำแต่เป็นเครือข่ายทางสังคมแบบใหม่ที่ไม่ได้ยึดติดกับความสัมพันธ์อำนาจแบบเดิม เนื่องจากเป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นเพื่อต่อรองกับอำนาจรัฐ


ประเด็นสำคัญของบทความนี้คือการเสนอให้เห็นลักษณะเศรษฐกิจแบบฝังแฝงในสังคม (Embedded economy) ของคนชนบทลุ่มน้ำมูนและจะเสนอรูปธรรมการดำรงชีพของคนชนบทที่อาศัยลำน้ำในการดำรงชีพเพื่อแสดงให้เห็นว่าระบบเศรษฐกิจในชุมชนชนบทปัจจุบันมีลักษณะสำคัญ คือ ดำรงอยู่ทั้งในกำกับของสังคมและมีลักษณะเชิงปัจเจกที่มุ่งประโยชน์สูงสุดแต่ไม่ได้ละทิ้งความสัมพันธ์แบบเครือข่าย เป็นสังคมแบบทวิลักษณ์การเคลื่อนไหวแบบคู่ขนาน (Double movement) ที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ขอเสนอแนะในครั้งนี้คือการสร้างความเข้มแข็งให้คนในสังคมชนบทปัจจุบันจำเป็นต้องมีกลไกการเมืองภาคประชาชนที่เข้มแข็งร่วมกับรัฐเพื่อควบคุมเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดความเป็นธรรมกับคนในชุมชนท้องถิ่นนั้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

ประจวบ จันทร์หมื่น, วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

การศึกษา : ไทศึกษา

References

กนกวรรณ มะโนรมย์ (2556) เศรษฐกิจในกำกับของสังคม สถาบันสังคมกับเศรษฐกิจลุ่มน้ำอีสานและโขง.ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.อุบลราชธานี
จักรกริช สังขมณี (2559) ชาวนาการเมืองอำนาจในเศรษฐกิจชนบทใหม่ของไทย.ฟ้าเดียวกัน.กรุงเทพฯ
ปัญญา คำลาด (2563) ควายทามสัตว์เลี้ยงทำเงินภาคพิเศษ. https://.youtube.com
Ungkanawin, K. (2020). นวัตกรรมเทคโนโลยีและคุณภาพระบบที่มีผลต่อประสิทธิผลในการทำการตลาด ดิจิทัลไทยแลนด์ 4.0 ในกลุ่มผู้ประกอบการซื้อขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต. Journal of the Association of Researchers, 23(3), 190-203.
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ (2563 ) เมื่อโลกพลิกผัน : การปฏิวัติอุตสาหกรรม จุดกำเนิดการเมืองและเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน โดย คาร์ล โปลานยี.สืบค้นhttps://www.youtube.com/watch?v=_jOhv8sUeNY&fbclid=IwAR2jGafnDdgsd4B_n4fnmZmNz32bn_y6UZOh13XtRkEsH6RhDY7JnUtsoiI เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563
ภัควดี วีระภาสพงษ์ (2563) เมื่อโลกพลิกผัน : การปฏิวัติอุตสาหกรรม จุดกำเนิดการเมืองและเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน โดย คาร์ล โปลานยี.สืบค้นhttps://www.youtube.com/watch?v=_jOhv8sUeNY&fbclid=IwAR2jGafnDdgsd4B_n4fnmZmNz32bn_y6UZOh13XtRkEsH6RhDY7JnUtsoiI เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563
สมชัย ภัทรธานันท์ (2559) ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วงทางการเมือง.สำนักพิมพ์อินทนิล.มหาสารคาม
สนั่น ชูสกุล (2556). มองเครือข่ายชาวบ้านราษีไศล “ที่ซึ่งมีการทำลายย่อมมีการบ่มเพาะพลังสร้างสรรค์”. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2563, สืบค้นจาก http://e-shann.com/?p=2473
เพ็ญศรี ชิตบุตรและณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์. (2562). ประชาธิปไตยในมุมมองของเอ็นจีโออีสานระหว่าง พ. ศ. 2549-2559. Journal of Politics and Governance, 9(2), 60-77.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.มหาสารคาม