คุณภาพสังคมกับความเป็นพลเมืองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องคุณภาพสังคมกับความเป็นพลเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นพลเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อความเป็นพลเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม และ3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (คิดเป็นร้อยละ 62.5) ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 19-20ปี (คิดเป็นร้อยละ 43.7) ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (คิดเป็นร้อยละ 42.0) โดยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (คิดเป็นร้อยละ 38.0) ซึ่งมีรายได้ระหว่าง 6,001 - 10,000 บาท (คิดเป็นร้อยละ 52.5)
ระดับความเป็นพลเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม พบว่าระดับความเป็นพลเมืองของนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.85, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.857) ปัจจัยคุณภาพสังคมมีความสัมพันธ์ต่อความเป็นพลเมืองของนักศึกษา โดยมีสมมติฐานการวิจัยและผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติ Chi-square ในรูปแบบการวิเคราะห์ตารางไขว้ (Cross tabulation) 3 สมมติฐาน ดังนี้ 1) ตัวแปรแปรระดับความเป็นปึกแผ่นทางสังคมกับตัวแปรระดับความเป็นพลเมืองของนักศึกษา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ตัวแปรแปรระดับทุนทางสังคมกับตัวแปรระดับความเป็นพลเมืองของนักศึกษามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ตัวแปรระดับการสร้างเครือข่ายทางสังคมกับตัวแปรระดับความเป็นพลเมืองของนักศึกษา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
แนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมือง โดยใช้ปัจจัยเรื่องคุณภาพสังคม ได้แก่ 1) หลักการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างกลุ่มนักศึกษาด้วยกัน 2) หลักการขจัดความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ 3) หลักการสร้างอุดมการณ์และค่านิยมในด้านความขยัน ความอดทน การร่วมมือ การซื่อสัตย์ และการพึ่งตนเอง 4) การให้การศึกษาอบรมอย่างต่อเนื่อง เรื่องความเป็นพลเมืองเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ความคิดช่วยให้นักศึกษามั่นใจในตนเองมากขึ้นที่จะปฏิบัติตนในการเป็นพลเมืองที่ดี 5) หลักการทำงานเป็นทีม สามารถนำมาใช้ในการแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาให้สังคมนักศึกษาตระหนักถึงความเป็นพลเมืองได้
Article Details
References
กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. (2561). ข้อมูลประชากรจังหวัดมหาสารคาม. [ค้นเมื่อ6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561] จากhttp://mkho.moph.go.th/mko/frontend/web/uploads/inspector/
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี
พรรณวดี ขำจริง. (2552). การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
พีระ จิระโสภณ. (2541). ทฤษฏีการสื่อสาร เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฏีการสื่อสาร, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2551). เยาวชนคิดอย่างไรกับการเมืองไทยในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychological testing. 4th ed. New York, NY Harper & Row.
Yamane, Taro.1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd edition. New York : Harper and. Row Publication.