รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดน กรณีศึกษาเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส : เมืองต้นแบบการค้าชายแดนระหว่างประเทศ

Main Article Content

ลาวัณย์ พงษ์สุวรรณศิริ
Usanee Promsriya

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ ปัญหา อุปสรรคของการค้าชายแดนบริเวณตลาดการค้าชายแดนไทย-สุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส 2) ศึกษาความพร้อมในการเป็นเมืองต้นแบบการค้าชายแดนระหว่างประเทศ 3) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของตลาดการค้าชายแดนไทย-สุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส 4) หารูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนไทย-สุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส วิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้มีส่วนได้เสียที่อาศัยอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส จำนวน 300 คน เชิงคุณภาพ ใช้การศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือกลุ่มผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการค้าชายแดนไทย-สุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส


              ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์ ปัญหา อุปสรรคของการค้าชายแดน บริเวณอำเภอเมืองสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาสพบว่าสินค้ามีความหลากหลาย สินค้ามีคุณภาพ มาตรฐาน ผู้ประกอบการมีความชำนาญเรื่องผู้บริโภค พื้นที่มีความเหมาะสม มีความเป็นศูนย์กลาง ปัญหาที่พบคือขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงผู้ประกอบการบางรายยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน  2) ความพร้อมของประชาชนในการเป็นเมืองต้นแบบการค้าชายแดนระหว่างประเทศ พบว่าประชาชนมีความรู้อยู่ในระดับดีมาก ส่วนความตระหนักของประชาชนต่อการเป็นเมืองต้นแบบการค้าชายแดนระหว่างประเทศ พบว่าประชาชนมีความตระหนักอยู่ในระดับมาก 3) สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า ตลาดการค้าชายแดนเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีความได้เปรียบในด้านของทำเลที่ตั้งที่มีความเหมาะสม ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการแข่งขัน การบริหารจัดการด้านสาธารณูปโภคต่างๆ ยังต้องมีการพัฒนาและปรับปรุง 4) แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส พบว่าควรเสนอนโยบายถึงทางรัฐบาลกำหนดให้บริเวณตลาดเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเป็นเขตปลอดภาษี จะทำให้สามารถสร้างมูลค่าทางการค้าเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา บุญบงการ. (2552). สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : วีพริ้น
เทพรักษ์ สุริฝ่าย และลำปาง แม่นมาตย์. (2561). บทบาทการค้าชายแดนในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนกรณีศึกษา จังหวัดหนองคาย. จังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร. วารสารการเมืองการปกครอง. 8(1) : 153-176.
มธุรดา สมัยกุล. (2557). การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดน กรณีศึกษาตลาดมิตรภาพชายแดนไทย-กัมพูชา. วารสารวิทยบริการ. 25(1) : 22-30.
รุสนา อ้าหลีสะหัส. (2563). ผู้ประกอบการเจ้าของร้านค้าส่งอาลีโก-ลก. สัมภาษณ์เมื่อ วันที่ 16 กรกฎาคม 2563.
เรวดี แก้วมณี. (2562). ศักยภาพอุตสาหกรรมในพื้นที่ด้ามขวานทอง เมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”. สืบค้นจาก : http://www.oie.go.th, เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2562.
สมโภช เจนพาณิชพงศ์. (2563). เลขาธิการหอการค้าจังหวัดนราธิวาส. สัมภาษณ์เมื่อ วันที่ 22 กรกฎาคม 2563.
สำนักงานจังหวัดนราธิวาส. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 5 ปี. สืบค้นจากจาก : http://www2.narathiwat.go.th, เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2562.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน. สืบค้นจาก : https://www.nesdc.go.th, เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562.
อังคณา ธรรมสัจการ และสายฝน ไชยศร. (2558). พฤติกรรมการค้าชายแดนไทย-มาเลเซียในจังหวัดสงขลา. สืบค้นจาก : http://oservice.skru.ac.th/ebook/lesson.asp?title_code=1179&type=3&no=11,เมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2562.
Miller, F. P., Vandome, A. F., & McBrewster, J. (2011). PEST Analysis. N.P.: VDM.
Porter, Michael E., (1980). Competitive Strategic Technique for Analyzing Industrial and Competitors : The Five Force. Free Press. New York.