การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงขับร้องประสานเสียงและวงออร์เคสตรา“คอรัสลูกทุ่งอีสาน ผสาน ออร์เคสตรา”: เพลง ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน

Main Article Content

ณรงค์รัชช์ วรมิตรไมตรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงขับร้องประสานเสียงและวงออร์เคสตรา “คอรัสลูกทุ่งอีสานผสานออร์เคสตรา”: เพลงไสว่าสิบ่ถิ่มกันเป็นงานวิจัยสร้างสรรค์ด้านการเรียบเรียงเสียงประสานโดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างสรรค์การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงขับร้องประสานเสียงและวงออร์เคสตราเพลงไสว่าสิบ่ถิ่มกัน 2) เพื่อวิเคราะห์การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงขับร้องประสานเสียงเพลงไสว่าสิบ่ถิ่มกันและ 3) เพื่อวิเคราะห์การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงออร์เคสตราเพลงไสว่าสิบ่ถิ่มกัน


ผลการวิจัยสร้างสรรค์ได้เกิดการผสมผสานดนตรีลูกทุ่งกับดนตรีคลาสสิกเกิดเป็น “ดนตรีอีสานคลาสสิก”ในอีกมิติหนึ่งเป็นแบบฉบับเฉพาะเป็นการสร้างความสุนทรีย์และสร้างคุณค่าให้กับบทเพลงลูกทุ่งอีสานให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมพื้นบ้านสู่ความเป็นวัฒนธรรมสากล


โดยการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงขับร้องประสานเสียงในบทเพลงนี้ใช้การเรียบเรียงทั้งหมด 4 รูปแบบคือการเรียบเรียงแบบแนวทำนองกับการบรรเลงประกอบการเขียนเสียงประสานสองแนวการเขียนเสียงประสานสี่แนวและการเรียบเรียงแบบใช้พื้นผิว แบบหลากทำนอง


การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงออร์เคสตราในบทเพลงนี้ใช้การเรียบเรียงทั้งหมด 4 รูปแบบคือการเรียบเรียงแบบแนวทำนองกับการบรรเลงประกอบการเรียบเรียงแบบการใช้ทำนองรองการเขียนเสียงประสานสี่แนวและการเรียบเรียงแบบใช้พื้นผิวแบบหลากทำนอง


 


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ครูลิลลี่. (2559, 29 มกราคม). ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก
https://www.thairath.co.th/content/567927
ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย. (2561).อีสานป๊อบ (1) - เมื่อเพลงอีสานทลายกำแพงวัฒนธรรม.สืบค้น 23 สิงหาคม
2563, จากhttps://www.the101.world/e-san-pop-1/
ภาสพงศ์ ผิวพอใช้. (2549). เพลงลูกทุ่งอีสานกับลักษณะการใช้ภาษาและการสะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่น:
ศึกษาในผลงานเพลงของศิริพร อำไพพงษ์. สืบค้น 23 สิงหาคม 2563,จาก
https://www.lib.ku.ac.th/KUCONF/KC4413005.pdf
ณรงค์รัชช์ วรมิตรไมตรี. (2562). หลักการเรียบเรียงเสียงประสาน. (พิมพ์ครั้งที 2). เอกสารประกอบการสอน
วิชา 2003405 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สมคิด เมืองวงค์.(2555). เพลงลูกทุ่งคำเมืองในระหว่างปี พ.ศ. 2546-2550.
(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สืบค้น 23 สิงหาคม 2563,
จาก http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/144
Belkin, Alan. (2020).An Orchestral Character Glossary.RetrievedSeptember4, 2020,
fromhttp://alanbelkinmusic.com/site/en/index.php/orchestration-character-glossary/
Sonnenschein, David. (2001). Sound Design: The Expressive Power of Music, Voice, and Sound
Effect in Cinema. Michigan: McNaughton & Gunn, Inc.