นวัตกรรมการสอนกระบวนวิชาจิตอาสาเพื่อพัฒนาสังคมในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา สู่ EEC

Main Article Content

ภัทรมนัส ศรีตระกูล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


       งานวิจัยเรื่องนวัตกรรมการสอนกระบวนวิชาจิตอาสาเพื่อพัฒนาสังคม ในการพัฒนาทักษะที่จำเป็น  ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาสู่ EEC มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรมการการสอนกระบวนวิชาจิตอาสาเพื่อพัฒนาสังคมและศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการสอนในกระบวนวิชาจิตอาสาพัฒนาสังคม กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ประกอบไปด้วยนิสิตของมหาวิทยาลัยบูรพาทั้งจำนวน 271 คน ซึ่ง ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 1) การสร้างนวัตกรรมการสอน โดยสังเคราะห์วิธีสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) การสอนแบบ Co-5STEPS และ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน(CBL) 2) นำนวัตกรรมไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในวิชาจิตอาสาเพื่อพัฒนาสังคมของนิสิตภาคเรียนที่ 2/2563 ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการสร้างนวัตกรรมการสอน มีทั้งหมด 8 ขั้นตอนประกอบด้วย 1 สร้างทางเลือกให้ผู้เรียน 2. สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียน 3.กำหนดเป้าหมายพื้นที่ เพื่อสำรวจปัญหาความต้องการ 4.วางแผนจัดทำโครงการ 5.สร้างเครือข่ายในการทำงาน 6.ปฏิบัติงานตามแผน 7.สรุปและประเมินผล 8.นำเสนอผลงาน ผลการนำนวัตกรรมไปใช้ พบว่า นิสิตเกิดทักษะที่จำเป็นตามแนวคิดของ EEC ประกอบด้วยทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณ และการมีจิตอาสา ร้อยละ 100 ทักษะอาชีพร้อยละ 86.96  การใช้เทคโนโลยีร้อยละ 82.60 ทักษะความคิดสร้างสรรค์ร้อยละ 78.26  ส่วนทักษะที่นิสิตใช้น้อยที่สุดคือ การจัดการข้ามวัฒนธรรม ร้อยละ 69.57

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงแรงงาน.(2561).ความต้องการแรงงานในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563
จาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_th/f628ce0abc376c33f425da7d3aacc36b.pdf
ทิศนา แขมมณี.(2550).รูปแบบการเรียนการสอน:ทางเลือกที่หลากหลาย.กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์.(2560).การพัฒนานวัตกรรมการสอนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานรายวิชา 468310
เทคนิคการนำเสนอและการจัดนิทรรศการ. ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
มหาวิทยาลัยศิลปากร.(10)1: 679-693
ผู้จัดการออนไลน์.(2562,21 มกราคม). “ม.บูรพา ลงนามร่วมคณะทำงาน EEC ผลิตกำลังคนป้อน 10 อุตสาหกรรม
เป้าหมาย”. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2562 จาก https://mgronline.com/local/detail/9620000007186
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข.(2557).การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
__________________.(2562).การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา.กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ภูวสิษฏ์ บุญศรี.(2561).การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่าง
มีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโป่ง สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563 จากhttp://www.ska2.go.th/reis/data/research/25620911_132558_5537.pdf
วรวรรณ นิมิตพงษ์กุลและ วิริยะ ฤาชัยพานิช (2562).สอนสร้างสรรค์ เรียนสนุกยุค 4.0. กรุงเทพ: เชนจ์พลัส.
วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์และพรชัย เปรมไกรสร.(2559).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดย
การสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้วัสดุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม.รายงานการประชุมวิชาการ
ระดับชาติ ประจำปี2559 ; 26 พฤษภาคม 2559. ขอนแก่น : สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย.1-8
วัชรินทร์ โพธิ์เงิน และคณะ.(2557).การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน . สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2563 จาก
http://www.fte.kmutnb.ac.th/km/project-based%20learning.pdf?fbclid=IwAR0wDZblxO6tK5W45ml_
3A7yDsta6sb1GsZkS_bwmlPoEu64hrgl8JckKuY
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2559).แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาค
ตะวันออก(พ.ศ.2560-2564). สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2563 จาก
https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6381
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.(2561).แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ.2561-2580.กรุงเทพ : พริกหวานพริ้น
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร.(2561).ความต้องการแรงงานไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(พ.ศ.2561-2570).สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2563 จากhttps://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2561/aug2561-1.pdf
หวน พินธุพันธ์. (2551). การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เราเข้าใจกันดีแค่ไหน. ). สืบค้นเมื่อ 7
เมษายน 2563 จาก http://sc.npru.ac.th/upload/files/1404400504.pdf
Laura-Maija .(2019). Learning to develop innovations. Individual competence, multidisciplinary activity systems
and student experience[dissertation],University of Turku,Finland
OECD.(2019).OECD Skills Strategy 2019.Paris:OECD Publishing.
World Economic Forum.(2018).The Global Competitiveness Report. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2563 จาก
http://www3.weforum.org/docs/GCR2018/05FullReport/TheGlobalCompetitivenessReport2018.pdf