แนวทางการแสวงหาความรู้ทางการสอบบัญชีที่มีต่อประสิทธิผลการสอบบัญชี ของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในประเทศไทย

Main Article Content

วิไลวรรณ ศรีหาตา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวทางการแสวงหาความรู้ทางการสอบบัญชีที่มีต่อประสิทธิผลการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในประเทศไทย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่


ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในประเทศไทย  จำนวน 1,831  คน  โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือและได้รับตอบกลับ  จำนวน 350 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.57 สถิติที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่  t-test F-test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณและการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ


                   ผลการวิจัย พบว่า ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ  40  ปีขึ้นไป   ระดับการศึกษา ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า  ประสบการณ์ทำงานด้านสอบบัญชีมากกว่า  15  ปี  ประสบการณ์ทำงานด้านอื่น ๆ  รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 35,000 บาท  ความต้องการในการฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมาย มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการแสวงหาความรู้ทางการสอบบัญชีโดยรวม อยู่ในระดับมาก ได้แก่  ด้านการใช้ประสบการณ์จริง  ด้านการสังเกตและวิเคราะห์  ด้านการคิดทางวิทยาศาสตร์  ด้านการคิดแบบมีเหตุผล มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับประสิทธิภาพผลการตรวจสอบบัญชีโดยรวม  อยู่ในระดับมาก  ได้แก่  ด้านความเที่ยงธรรม  ด้านความถูกต้องครบถ้วน  ด้านความคิดสร้างสรรค์ 


                จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ  พบว่า  1)  การแสวงหาความรู้ทางการสอบบัญชีมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิผลการสอบบัญชีโดยรวม ด้านการใช้ประสบการณ์จริง  2)  การแสวงหาความรู้ทางการสอบบัญชีมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิผลการสอบบัญชีโดยรวม ด้านการคิดทางวิทยาศาสตร์  3) การแสวงหาความรู้ทางการสอบบัญชีมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิผลการสอบบัญชีโดยรวม  ด้านการคิดแบบมีเหตุผล 4) การแสวงหาความรู้ทางการสอบบัญชีมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิผลการสอบบัญชีโดยรวม  ด้านการใช้แหล่งความรู้


คำสำคัญ:   การสอบบัญชี, ผู้ตรวจสอบบัญชี,บัญชีสหกรณ์


 อาจารย์วิไลวรรณ  ศรีหาตา  หลักสูตรบัญชีบัณฑิต  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์


e-mail : jum.si@hotmail.com


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2558). คู่มือการตรวจสอบกิจการอย่างง่าย.กรุงเทพมหานครฯ.
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. ผู้ตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ในประเทศไทย. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
http://www.cad.go.th. [2558, 27 มิถุนายน].
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. การบริหารจัดการด้านการเงินสหกรณ์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
http://www.cad.go.th. [2551, 27 มิถุนายน].
ศิริชัย กาญจนวาสี. “การแสวงหาความรู้,” วารสารวิจัยการศึกษา. 18(3) : 5-8, 2553.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2554.
ชาญชัย ตั้งเรือนรัตน์. “การสื่อสารของรายงานของผู้สอบบัญชีกรณีร่างรายงานของผู้สอบบัญชี
แบบใหม่,” วารสารวิชาชีพบัญชี. 5(13) : 25-28 ; สิงหาคม, 2552
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2549.การวางแผนตรวจสอบบัญชี. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มสธ.
อุษณา ภัทรมนตรี. 2547. การตรวจสอบภายในสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.