ผลกระทบของกระบวนการประชานิยมต่อรัฐไทย

Main Article Content

ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความนี้ต้องการสะท้อนถึงกระบวนการประกอบสร้างประชานิยมกับรัฐไทย โดยศึกษาผ่านทฤษฎีประกอบสร้างนิยมและประชานิยม เป็นกรอบในการวิเคราะห์ รวมถึงผลกระทบของประชานิยมในรัฐไทย พร้อมทั้งศึกษาปรากฏการณ์จริงเกี่ยวกับประชานิยมในรัฐไทย และรวบรวมข้อมูลจากผู้บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยนักวิชาการ นักฎหมาย นักเคลื่อนไหวทางสังคม สื่อมวลชน และนักการเมือง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก


ผลการสังเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของครอบครัวหล่อหลอมให้เกิดประชานิยม กฎหมายรัฐธรรมนูญปัจจุบันเอื้อให้เกิดระบบประชานิยม และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญส่วนมากมีช่องว่างทำให้เกิดประชานิยม พรรคการเมืองและนักการเมืองประกอบสร้างประชานิยมผ่านนโยบายสาธารณะ ทำให้เกิดผลกระทบและความเข้าใจเกี่ยวกับประชานิยมของประชาชนที่แตกต่างกัน และประชานิยมในรัฐไทยถูกมองว่าเดินตามแบบประชานิยมในลาตินอเมริกา โดยผลกระทบของประชานิยมในรัฐไทยด้านสังคมก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ การแบ่งชนชั้นทางสังคม และเกิดระบบอุปถัมภ์มากขึ้น ด้านเศรษฐกิจก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เข้มแข็งในระยะสั้นเป็นอย่างมาก แต่มีแนวโน้มจะก่อหนี้สาธารณะในระยะยาวมากเช่นกัน ส่วนด้านการเมือง นักการเมืองใช้ประชาชานิยมหาเสียงเพื่อหวังผลชนะการเลือกตั้งมากขึ้น นำไปสู่การเผชิญหน้าและความขัดแย้งระหว่างคนในชนบทกับคนในเมือง และด้านวัฒนธรรมประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อนโยบายประชานิยม เกิดวัฒนธรรมเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม และทำให้การเคารพกติกา ความมีระเบียบวินัยของประชาชนลดน้อยลง


 


คำสำคัญ : การประกอบสร้างนิยม, กระบวนการประชานิยม, รัฐไทย


 


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2550). ขบวนการประชานิยมในสหรัฐอเมริกา. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย.
ปีที่ 3 (ฉบับที่ 1)
-------------.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2560). ทฤษฎีประกอบสร้างนิยม (constructivism) กับไอร์แลนด์และ-
เซอร์เบีย : สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2562 จาก https://www.matichon.co.th
เกษียร เตชะพีระ. (2544). ป๊อบปูลิสต์คือใคร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
ชาติชาย มุกสง. (2555). นโยบายประชานิยม. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2562
จาก http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php.
พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561. (2561, 19 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135
ตอนที่ 27 ก หน้า 3-7.
ภูวกฤต เหมหาชาติ. (2558). นโยบายประชานิยม. พุทธจักร. ปีที่ 69 (ฉบับที่ 4), เมษายน 2558 หน้า 1-30.
วินัย ผลเจริญ. (2546). ผลกระทบของนโยบายประชานิยมที่มีต่อเศรษฐกิจสังคมและการเมืองไทย. (ตอนที่1).
จุลสารกลุ่มประชาชนเพื่อประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : รายงานประจำภาคของคณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูปประเทศไทยด้านนโยบาย
ประชานิยมที่จะส่งผลต่อหนี้สาธารณะและการเพิ่มบทบัญญัติต่อความรับผิดชอบในโครงการ
ประชานิยม. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2557). รายงานการศึกษาข้อมูลหนี้ที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ
ประชานิยมของรัฐบาล. กรุงเทพฯ.
อนุสรณ์ ธรรมใจ. (9 ตุลาคม 2558). ประชารัฐ ประชานิยม และรัฐสวัสดิการ (1). กรุงเทพธุรกิจ.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2549). ทักษิณาประชานิยม: กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มติชน : สำนักพิมพ์มติชน.