กลวิธีการสร้างโครงเรื่องในนวนิยายกาหลมหรทึก ของ ปราบต์

Main Article Content

มิ่งมนัสชน จังหาร
อรอนงค์ ศิริโสม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการสร้างโครงเรื่องในนวนิยายกาหลมหรทึก ของ ปราปต์ จากจากองค์ประกอบของโครงเรื่อง คือ โครงเรื่องหลัก โครงเรื่องย่อย และกลวิธีการสร้างโครงเรื่อง คือ เปิดเรื่อง การดำเนินเรื่อง ความขัดแย้ง การปิดเรื่อง ผลการวิจัยพบว่า โครงเรื่องในนวนิยายกาหลมหรทึกประกอบด้วยโครงเรื่องหลักและโครงเรื่องย่อย 4 โครงเรื่อง ส่วนกลวิธีการสร้างโครงเรื่องพบว่า มีการเปิดเรื่องด้วยการกระทำของตัวละคร ใช้กลวิธีการดำเนินเรื่องที่ต่างไปจากขนบ สร้างความขัดแย้งโดยปรากฏความขัดแย้งของมนุษย์ทั้งขัดแย้งภายในใจตนเองและขัดแย้งกับผู้อื่น และปิดเรื่องด้วยการแสดงถึงความหวังใหม่ของตัวละคร


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2516). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นาฏอนงค์ พวงสมบัติ. (2553). วิเคราะห์วรรณกรรมแนวสืบสวนสอบสวนของ วินทร์ เลียววาริณ และ โยโคมิโซะ
เซซิ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก : สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย
นเรศวร.
ปราปต์ (2561). กาหลมหรทึก. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ศิวภรณ์ หอมสุวรรณ. (2535). วรรณกรรมปัจจุบัน. เชียงใหม่ : ภาควิชาภาษาไทย คณะวิชามนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.
สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2539). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์
จำกัด.
สายวรุณ น้อยนิมิต. (2541). นวทัศน์แห่งวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : ชย อิมเปค อินเตอร์เนชั่นแนล.