ความพร้อมของจังหวัดร้อยเอ็ดสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจ ด้วยเพราะในหลายๆ ประเทศทั่วโลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดที่มีพุทธสถานอันเลื่องชื่อหลายแห่ง ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจข้อมูลทั่วไปของกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ 2) ระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ดสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม คือ การศึกษาเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จำนวน 400 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 8 คน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
- นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่เดินทางเยี่ยมชมพุทธสถานของจังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 60-64 ปี และมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น เดินทางท่องเที่ยวกับสมาชิกในครอบครัวหรือกับเครือญาติ โดยใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง ช่วงเวลาในการเดินทางท่องเที่ยวคือ วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเลือกเดินทางท่องเที่ยวตามโอกาสที่สะดวกด้วยการเดินทางแบบไปเช้า เย็นกลับ และเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงของจังหวัด
- แรงจูงใจที่ทำให้นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุเดินทางเยี่ยมชมพุทธสถาน คือ ต้องการใช้เวลากับครอบครัว/เพื่อน/คนรัก ส่วนการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับ 1) สิ่งดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว 2) ความสามารถในการเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยว 3) กิจกรรมต่างๆ ณ แหล่งท่องเที่ยว 4) สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และ 5) การบริการด้านที่พัก ตามลำดับ
- แม้การศึกษาพบว่าจังหวัดร้อยเอ็ดมีความพร้อมในการบริการนักท่องเที่ยวในภาพรวม แต่กลับพบว่าการให้บริการนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุยังมีข้อจำกัด เนื่องจากนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีความแตกต่างจากนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น ดังนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนควรตระหนักถึงข้อจำกัดของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของจังหวัดร้อยเอ็ดในอนาคต
Article Details
References
นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564). ค้นเมื่อ 22
มกราคม 2561 จาก http://www.dpe.go.th/content/file/download/ 0524171495596785.pdf
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สรุปขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของไทย ปี
พ.ศ. 2562 ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2561 จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=12010
จิราวดี รัตนไพฑูรย์ชัย. (2557). ตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ : โอกาสใหม่ไทย เติบโตรับ AEC. ค้นเมื่อ 25
มกราคม 2561. จาก: http:// www.itd.or.th/th/ตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ.
จักรกฤษณ์ แสนพรหม. (2556). ความจำเป็นของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุและ
ผู้สูงอายุในพื้นที่ กรณีศึกษา สถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นพระธาตุบริวารของพระธาตุพนม จังหวัด
นครพนม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครราชสีมา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีสุรนารี.
ชลวิทย์ เจียรจิตต์. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงอายุ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์
ปริทรรศน์, 8(1), 193-203.
ชิตวร ประดิษฐ์รอด. (2557). ปัจจัยองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวและปัจจัยแรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่
ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวปริมณฑลของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. (การ
ค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เบญจพร เชื้อผึ้ง. (ม.ป.ป.). แนวทางการจัดการการบริการของโรงแรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาว
ไทยที่มาพักแรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2561 จาก https://so03.tci-
thaijo.org/index.php/oarit/article/download/166762/120397/
พงศ์เสวก อเนกจำนงค์พร. (2558). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นเบบี้บูมในกรุงเทพมหานคร.
(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พระมหาสุริยา มะสันเทียะ. (2558). กลยุทธ์การเพิ่มคุณค่าการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของ
พระอารามหลวงในเกาะรัตนโกสินทร์. (ดุษฎีนิพนธ์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสยาม.
พระมหาเสรีชน นริสฺสโร, สายชล ปัญญชิต และภูเบศ วณิชชานนท์. (2556). การจัดการท่องเที่ยวทาง
พระพุทธศาสนาในประเทศไทย. (รายงานการวิจัย). สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มุนิล บุญประเสริฐ. (2557). การวิเคราะห์คุณลักษณะองค์ประกอบร่วมของความพึงพอใจในพฤติกรรมการ
ท่องเที่ยวในเขตพุทธาวาสของผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหา
บัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ประจำปี 2562. ค้นเมื่อ 27
มกราคม 2562 จาก http://thaitgri.org.
รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ : มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคม และสุขภาพ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม: บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด.
วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2554). แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ
กรณีศึกษาพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. พะเยา : มหาวิทยาลัยพะเยา.
วรากรณ์ พูลสวัสดิ์. (2557). การดูแลผู้สูงอายุวิถีพุทธ. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2562. จาก
http://www.gotoknow.org/posts/566127
วิลาสินี ยนต์วิกัย. (2562). แนวทางการพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุใน
ประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 428-438.
สรรค์นันธ์ ตันติอุโฆษกุล อัครวงศ์. (2556). การท่องเที่ยวเพื่อ (คุณภาพ) ชีวิต. วารเทคโนโลยีภาคใต้, 12(2),
216-227.
สำนักงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด. (2560). รายงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2560.
Ananth, M., DeMicco, F. J., Moreo P. J., & Howey, R. M. (1992). Marketplace lodging needs of mature
travelers. The Cornell Hotel and Restaurant Administration Quarterly, 33(4), 12-24.
Cooper, C., & Boniface, B. G. (1998). Geography of travel and tourism. UK: Butterworth Heinemann.
Dickman, S. (1997). Tourism: An Introductory Text. Holder Education, Rydalmere, New South Wales.
Hooper, J. (2014). A destination too far? Modelling designation accessibility and distance decay in
tourism. Geo journal. (80). (1). (February). (page: 33-46).
Hudman, L. E. (1980). Tourism: A shining world. Ohio: Grid.
Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W. (1970). Activities Educational and Psychological
Measurement. v. 30; 607-610.
Nimrod, G. (2008). Retirement and tourism Themes in retirees’ narratives. Annals of Tourism Research,
35(4): 859 - 878.
Siriwong, Phitak and Sengdaeng, Phattama. (2011).The traveling of physically disabled in Thailand.
Veridian Silapakorn University E-Journal, 4(2), 221-228.