เปรียบเทียบอนุภาคของวิเศษที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องสังข์ทองฉบับภาษาไทยกับเรื่องขยองสังข์ฉบับภาษาเขมร

Main Article Content

ปรมินทร์ ศรีรัตน์

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอนุภาคของวิเศษที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องสังข์ทองฉบับไทยกับเรื่องขยองสังข์ฉบับภาษาเขมร มีขอบเขตในการศึกษาโดยใช้บทละครนอกเรื่องสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเรื่องขยองสังข์ฉบับภาษาเขมรของสถาบันพุทธศาสนบัณฑิต (แปลโดยผู้วิจัย) มาเป็นหลักในการศึกษาเปรียบเทียบ ผลการศึกษาพบว่า อนุภาคของวิเศษที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องสังข์ทองฉบับภาษาไทยกับเรื่องขยองสังข์ฉบับภาษาเขมร แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) อนุภาคของวิเศษที่มีเหมือนกันในวรรณคดีเรื่องสังข์ทองฉบับภาษาไทยกับเรื่องขยองสังข์ฉบับภาษาเขมร ได้แก่ หอยสังข์ รูปเงาะ เกือกแก้ว ไม้เท้า บ่อเงินบ่อทอง (สระเงินสระทอง) และสำเภาทอง โดยในวรรณคดีเรื่องขยองสังข์ฉบับภาษาเขมรได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับอนุภาคของวิเศษแต่ละอย่างมากกว่าในวรรณคดีเรื่องสังข์ทองฉบับภาษาไทย 2) อนุภาคของวิเศษที่มีเฉพาะในวรรณคดีเรื่องขยองสังข์ฉบับภาษาเขมรเท่านั้น โดยไม่พบในวรรณคดีเรื่องสังข์ทองฉบับภาษาไทยแต่อย่างใด ได้แก่ ต้นไทร ดอกบัวทอง และน้ำอมฤต ถึงแม้ว่าวรรณคดีเรื่องสังข์ทองฉบับภาษาไทยกับเรื่องขยองสังข์ฉบับภาษาเขมรจะมีที่มาจากที่เดียวกัน คือมาจากคัมภีร์ปัญญาสชาดก แต่เนื่องด้วยสภาพทางสังคม ความเชื่อ ค่านิยมของทั้งสองประเทศที่แตกต่างกัน ทำให้รายละเอียดเกี่ยวกับอนุภาคของวิเศษมีทั้งความคล้ายคลึงกันและแตกต่างกันออกไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิยะดา เหล่าสุนทร.(2558). ปัญญาสชาดก : ประวัติและความสัมพันธ์ที่มีต่อ
วรรณกรรมร้อยกรองของไทย. กรุงเทพฯ : ลายไทย. ประคอง นิมมานเหมินท์.(2551). พิมพ์ครั้งที่ 3. นิทานพื้นบ้านศึกษา. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย.(2545). บทละครนอก. กรุงเทพฯ :
ศิลปาบรรณาคาร.
พรพรรณ ธารานุมาศ.(2524). วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 200 ปี.
กรุงเทพฯ: เรืองศิลป์.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์.(2551). สังข์ทอง. กรุงเทพฯ : พิมพ์คำ.
ศานติ ภักดีคำ.(2550). ความสัมพันธ์วรรณคดีไทย– เขมร.กรุงเทพฯ : อมรินทร์.
สนิท ตั้งทวี.(2527). วรรณคดีและวรรณกรรมศาสนา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ពុទ្ធសាសនបណ្ឌិត.(2504). រឿងខ្យងស័ង្ខ. ភ្នំពេញ.