การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา

Main Article Content

จุฑาภรณ์ ภารพบ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นคือ1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ 3.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ จำแนกตามพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา จำนวน 383 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น (Probability sampling) โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ แล้วสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านมือถือ ที่บ้าน/หอพัก เพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ กับเพื่อนและคนรู้จักทุกวัน มากกว่า 5 ชั่วโมง/วัน ในช่วงเวลา 20.00 – 00.00 น. ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเลือกใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด คือ Facebook และยังเป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่นักศึกษาเลือกใช้งานเพื่อการเรียนรู้บ่อยที่สุดด้วย ในส่วนของความแตกต่างของพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้จำแนกตามพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความถี่ในการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์นานๆครั้ง (1-2 วัน/สัปดาห์) มีพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้มากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างที่มีช่องทางการใช้บริการ ระยะเวลา ช่วงเวลา และบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เลือกใช้งานเพื่อการเรียนรู้บ่อยที่สุดต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัฐมณฑน์ ตั้งกิจถาวร. (2558). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการเปิดรับข้อมูลที่ถูกแชร์ (Shared)
ผ่านเฟสบุ๊ค. สืบค้นเมือ 6 มกราคม 2560. จาก
http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/1635/1/chattamon_tang.pdf
ดร.สาธนีย์ แซ่ชิ่น. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางสื่อออนไลน์ (สื่ออินเตอร์เน็ต) ของประชาชน
ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชตภาคย์ ฉบับพิเศษ ครบรอบ 23 ปี สถาบันรัชตภาคย์ หน้า 469 -
482. สืบค้นเมือ 6 มกราคม 2560. จาก http://rajaparkjournal.com
ธนะวัฒน์ วรรณประภา. (2559), วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม -
มีนาคม พ.ศ. 2560
ธารารัตน์ แก้วพันธุ์ช่วง. (2555). การเปิดรับและการรับรู้การสื่อสารการตลาด โทรศัพท์มือถือ และ
แอพพลิเคชั่น สปริง ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2560. จาก
http://www.amsarthailand.utcc.ac.th/attachments/article/32/Thararat.pdf
ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี. (2557). สังคมออนไลน์เพื่อการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยา
เขตร้อยเอ็ด ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2560.
จาก http://journalrec.mbu.ac.th/images/pdf/journal4-2/38p381-391.pdf
พงษ์ศักดิ์ บุญภักดี. (มปป.). เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Networking). 2554. สืบค้นเมื่อ 24
พฤศจิกายน 2560. จาก http://www.slideshare.net/boonphakdee/ss-9417834 .
ศรันถ์ ยี่หลั่นสุวรรณ. (2558). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และแนวโน้ม พฤติกรรมที่มีต่อโครงการ
ส่งเสริมสังคมของผู้นำเยาวชน ประเทศอาเซียนและญี่ปุ่น ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก. สื่อสารมวลชน
วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมือ 6 มกราคม 2560. จาก
http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5507030327_3459_3412.pdf
อารดี ผลดี. (2556). สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมือ 26 มกราคม 2560. จาก http://www.royin.go.th
เกศริน แสงจันทร์เรือง. (2554). การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ทางสังคม.
(กรณีศึกษา: การใช้ Facebook.com ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). บทคัดย่อ.
สืบค้นเมือ 6 มกราคม 2560. จาก http://digi.library.tu.ac.th/thesis/it/0791/title-biography.pdf.
แสงเดือน ผ่องพุฒ. (2556). บทความวิชาการ. สื่อสังคมออนไลน์และแนวทางการประยุตใช้ สืบค้นเมือ 26
มกราคม 2560. จาก http://library.senate.go.th/document/Ext6685/6685991_0004.PDF
Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. New York: Free Press.