กระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ตามกรอบ TPACK MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองดู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

Suwanna Kaewsrisai

บทคัดย่อ

           การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาตามกรอบ TPACK MODEL กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองดู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 9 คน เลือกโดยวิธีเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาตามกรอบ TPACK MODEL มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.82 แสดงว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าแผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ได้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.40-0.59 มีความเหมาะสมสามารถนำไปทดสอบได้ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี จำนวน 15 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.76 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) และค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness index : E.I.) ผลการวิจัยปรากฏดังต่อไปนี้


  1. กระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ตามกรอบ TPACK MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองดู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.18/84.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80


  2. ประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ตามกรอบ TPACK MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองดู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) เท่ากับ 0.70 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 70   




  3. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ตามกรอบ TPACK MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองดู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด มีความพึงพอใจเท่ากับ 4.78 ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด


            สรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ตามกรอบ TPACK MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองดู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลในการเรียนรู้รายวิชาดนตรี


     


     



Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542.กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด.
กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้กลับด้านตามกรอบแนวคิดทีแพคและทฤษฎีขยายความคิดสำหรับครูมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทมณี สระทองหน. (2560). การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบบ TPACK MODEL โดยการใช้การสอนแบบเสมือนจริง ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลกำแพงแสน. นครปฐม: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐกานต์ เทพบำรุง และจรินทร อุ่มไกร. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ TPACK MODEL ด้วยเทคนิคความเป็น จริงเสริมสามมิติ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 กรณีศึกษาโรงเรียน บ้านตรอกสะเดา. นครปฐม: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.
นัติเทพ การิเทพ. (2558). กระบวนการสอนกีตาร์คลาสสิกของอาจารย์เกียรติ เอกศิลปะ. มหาสารคาม: วิทยาลัย
ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรทิพย์ สายแวว. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่องโน้ตดนตรีสากล เป็นต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย
สอน.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
รุ่งอรุณ บุญทัน. (2550). สภาพปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการสอนศิลปะ (ทัศนศิลป์) ของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 2. (ภาคนิพนธ์ปริญญาครุ
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา), คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ลิลลา อดุลยศาสน์. (2560). การพัฒนาความรู้ในการบูรณาการเทคโนโลยีกับวิธีสอนและเนื้อหาที่สอน (TPACK) ของนักศึกษาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.ยะลา: คณะ
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วิจารณ์ พาณิชย์. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.
Erdogan, A., &Sahin, I. (2010).Relationship between math teacher candidates’ Technological Pedagogical and Content Knowledge (TPACK) and achievement
levels. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 2(2), 2707-2711.
Shulman, L. S. (1986). Those who understand: Knowledge growth in teaching. Educational Researcher, 15(2), 4-14.