ลักษณะทางภาษาและกลวิธีการตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊ก ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

เพ็ญประภา สิงห์สวัสดิ์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางภาษา และกลวิธีการตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้      เฟซบุ๊กของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสารประกอบกับการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ผู้ศึกษาได้เลือกศึกษาการตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามจำนวน 400 ชื่อ แบ่งเป็นเพศชาย 200 ชื่อ และเพศหญิง 200 ชื่อ   


           ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางภาษาที่ในการตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊ก ด้านจำนวนพยางค์พบตั้งแต่จำนวนพยางค์ 1-11 พยางค์ พบมากที่สุดคือจำนวน 5 พยางค์ ด้านตัวอักษรที่นำมาใช้ในการตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กพบตัวอักษร 2 ภาษา ได้แก่ ตัวอักษรภาษาไทย และตัวอักษรภาษาอังกฤษ พบมากที่สุดคือ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ด้านการใช้เครื่องหมายวรรคตอน พบการใช้เครื่องหมายวรรคตอนทั้งหมด    3 ชนิด ได้แก่ เครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยว เครื่องหมายมหัพภาค และเครื่องหมายยัติภังค์ พบมากที่สุดคือ เครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยว ผลการศึกษากลวิธีการตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊ก ด้านวิธีการตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊ก พบวิธีการตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กวิธีทางความหมาย 6 วงความหมาย ได้แก่ ชื่อ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต อาการ ลักษณะ และอื่น ๆ พบมากที่สุดคือ วิธีการตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กในวงความหมายชื่อ ด้านโครงสร้างที่ใช้ในการตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊ก พบโครงสร้าง 2 แบบ ได้แก่ โครงสร้างแบบเดี่ยว และโครงสร้างแบบประสม พบมากที่สุดคือ โครงสร้างแบบเดี่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุติมา บุญอยู่. (2549). วิเคราะห์โครงสร้างภาษาและกลวิธีการตั้งชื่อภาพยนตร์ไทยในช่วง 2 ทศวรรษ
(พ.ศ. 2526 - พ.ศ.2545). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ธัญญรัตน์ กีรติวินทกร. (2549). กลวิธีการตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์
ปริญญาศิลปสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธัญพิมล เทพไกรวัล. (2560). ลักษณะภาษาในการตั้งชื่อเฟซบุ๊กของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ในจังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
ลัดดาวัลย์ คีรีเมฆ. (2541). แนวนิยมในการตั้งชื่อร้านค้าในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปิยะพร ปุณณกะศิริกุล. (2557). การวิเคราะห์อัตลักษณ์ของคนไทยจากชื่อเฟซบุ๊ก. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2): 47-73.
พิชชารีย์ เกาะน้ำใส. (2557). การสลับภาษาระหว่างภาษาไทยและภาษาไทยถิ่นอีสานในเฟซบุ๊ก.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สถิติผู้ใช้ดิจิทัลทั่วโลกไทยเสพติดเน็ตมากสุดในโลกกรุงเทพเมืองผู้ใช้ Facebook สูงสุด.
[ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.brandbuffet.in.th/2018/02/global-and-thailand-
digital-report-2018/?fbclid=IwAR2naDmTe2noB3627crjZ66twzMww SGs6NDz1
NheN2wNrcpc6Rd6q9-kEg. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2562].
Facebook. ชื่อแบบใดที่สามารถใช้ได้บน Facebook. [ออนไลน์]. ได้จาก:
https://www.facebook.com/help/112146705538576?helpref=faq_content.
[สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2652].
Kittichai Werapongpradit. สำรวจพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของประเทศไทย. [ออนไลน์]. ได้จาก:
https://medium.com/digitech-solution/สำรวจพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของทั่วโลก
และประเทศไทยใน-ม-ค-f183e56819f8. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2562].