Legal Problems and Obstacles of Juvenile Protection in Process of Justice

Main Article Content

Supaporn Pituckphaosakul

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                                ปัจจุบันกรณีที่เด็กตกเป็นผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาหรือพยาน ยังไม่สามารถทำให้เด็กและเยาวชนได้รับการคุ้มครองตามหลักสากล อีกทั้งการที่กฎหมายกำหนดให้มีองค์กรหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมถึงกำหนดให้มีกลุ่มสหวิชาชีพ ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา ก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองเด็กและเยาวชนหลายประการ ในขั้นตอน เช่น การถามปากคำ การนำชี้สถานที่เกิดเหตุ การทำแผนประกอบคำรับสารภาพ เขตอำนาจในการสอบสวน การควบคุมตัว การดำเนินการฟ้องคดีต่อเด็กและเยาวชน ตลอดจนการส่งเด็กและเยาวชนไปฝึกอบรม เป็นต้น


                        รายงานการวิจัยฉบับนี้ จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนตามกระบวนการยุติธรรม การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร จากการศึกษาพบว่า การให้ความคุ้มครองเด็กและเยาวชนยังคงมีข้อบกพร่องหลายประการ เช่น ปัญหาเรื่องความสับสนในเรื่องเขตอำนาจศาลและเขตอำนาจสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน ปัญหาเรื่องการกำหนด “มาตรฐาน” ในมาตรฐานการปฏิบัติงานในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และปัญหาการตีความคำว่า “เด็ก” และ “เยาวชน” ที่ไม่สอดคลองกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ทำให้เด็กและเยาวชนไม่ได้รับความคุ้มครองตามกระบวนการยุติธรรมที่เพียงพอ ดังนั้น ภาครัฐควรให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับหลักสากลตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและจัดทำมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการในการให้ความคุ้มครองเด็กและเยาวชนในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้องค์กรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานดังกล่าว เช่น ศาลยุติธรรม  องค์กรอัยการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และสภาทนายความ สามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งควรมีการปรับแก้ไขกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษณี จันทร์ตระกูล,ภูษา ศรีวิลาศ.(2555).คู่มือสำหรับเด็ก เกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองเด็ก. เชียงราย.มูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก
ชัชญาภา พันธุมจินดา.(2552).ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กระหว่างสอบสวน ศึกษากรณีเด็กเป็นผู้ต้องหา.ชลบุรี.มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ณรงค์ ใจหาญ.(2543). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1 .กรุงเทพฯ . วิญญูชน.
-----------------. (2543) . การคุ้มครองเด็กในการให้ปากคำในคดีอาญา .วารสารดุลพาห เล่ม 1 ปีที่ 47 ม.ค.-เม.ย.สำนักงานศาลยุติธรรม.กรุงเทพฯ.
นฤมล รัตนทากูล.(ม.ป.ป). สิทธิเด็ก (สิทธิที่ไม่ควรมองข้าม).วารสารยุติธรรม.กรุงเทพมหานคร.
ยุทธนันท์ ยิ้มพูลทรัพย์.(ม.ป.ป). เด็ก เยาวชน ผู้เยาว์.วาสารยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม .กรุงเทพมหานคร.
วัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล.(2541).มาตรฐานการปฏิบัติต่อเด็กที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก.วารสารดุลพาห สำนักงานศาลยุติธรรม.กรุงเทพมหานคร.
วิศิษฐ์ ผลดก. (2549) .การปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพเพื่อช่วยเหลือเด็กถูกทารุนกรรม : กรณีศึกษาทีมสหวิชาชีพ จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพมหานคร.
สกุลยุช หอพิบูลสุข.(2556).กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กของประเทศไทย.สำนักงานอัยการสูงสุด.กรุงเทพมหานคร.
อภิรดี โพธิ์พร้อม. (2553). 8 ปี แห่งการรอคอย พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553.วารสารศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.กรุงเทพมหานคร.
อธิราช มณีภาค.(ม.ป.ป.).สาเหตุแห่งการกระทำผิดอาญาของเด็กและเยาวชนรวมทั้งวิธีป้องกันและแก้ไข.สำนักงานศาลยุติธรรม.กรุงเทพมหานคร.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550.ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา.ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 73 ตอนที่ 95 (ฉบับพิเศษ).
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546.ราชกิจจานุเบกษา. ตอนที่ 95 ก/1/2 ตุลาคม 2546.
พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553.ราชกิจจานุเบกษา.เล่มที่ 127 ตอนที่ 72 ก.