การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม: ศึกษากรณีชุมชนบ้านเขวา ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ดาริกา โพธิรุกข์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ศึกษากรณีมรดกทางวัฒนธรรมของชาวบ้านในหมู่บ้านเขวา ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่าง ทั้งชาวบ้านในพื้นที่และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในหมู่บ้านเขวา ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม อยู่ในระดับที่ต่ำ โดยการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมส่วนมากเป็นเรื่องของรัฐและผู้นำชุมชนเท่านั้น ชาวบ้านในพื้นที่เป็นเพียงผู้ร่วมงานตามที่ทางหน่วยงานของรัฐหรือผู้นำชุมชนเป็นผู้จัดขึ้นเท่านั้น การริ่เริ่มดำเนินโครงการเองยังน้อย รวมถึงแนวคิดหรือความคิดเห็นต่างๆ ยังคงขึ้นอยู่กับผู้นำชุมชน สำหรับรูปแบบในการมีส่วนร่วมของชาวบ้านส่วนใหญ่ ได้แก่ การการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์งานประเพณีแก่ผู้ที่สนใจ รวมถึงการสนับสนุนในทุกด้านโดยการและการเข้าร่วมงานประเพณีตามที่หน่วยงานของรัฐหรือผู้นำชุมชนได้จัดขึ้น โดยเหตุผลสำคัญที่ตัดสินใจเข้าร่วมงานของชาวบ้านเพราะ ต้องการที่จะสืบสานมรดกวัฒนธรรมที่มีให้คงอยู่สืบทอดไปยังลูกหลาน และเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยความภูมิใจในประเพณีท้องถิ่นของตนเป็นสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ดาริกา โพธิรุกข์

อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

References

การดูแลรักษามรดกวัฒนธรรม, สมใจ ศรีนวล, ปาริชาต. ปีที่ 14, ฉบับที่ 2 (ต.ค. 2544 - มี.ค. 2545), หน้า 4-10.
กาญจนา แก้วเทพ. 2530. มรดกทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ:รุ่งเรียงสาสน์การพิมพ์.
กุลธิดา ศรีสุวรรณ, การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนชุมชนอำเภอกะปง จังหวัดพังงา, นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารธุรกิจบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2560.
ณัฐชัย ณ ลำปาง, การคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ.2546 : ศึกษากรณีของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์, 2558
นิคม มูสิกะคามะ.2533.ทฤษฎีและแนวปฏิบัติการอนุรักษ์อนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี.กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
มนูญ หวันหยี, บทบาทผู้นำชุมชน การมีผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีผลต่อการยอมรับโครงการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา การบริหารการพัฒนา, 2551.
รัศมี ชูทรงเดช และคณะ. 2555. การสืบค้นและจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในอาเภอปาย –ปางมะผ้า-ขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
วราลักษณ์ ไชยทัพ. 2544. การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. เชียงใหม่: เชียงใหม่ บี เอส. การพิมพ์.
ศรีศักร วัลลิโภดม และสุจิตต์ วงษ์เทศ. 2532. “วิวัฒนาการของวัฒนธรรมมากมิติทางประวัติศาสตร์โบราณคดี”. ใน สู่ความเข้าใจในวัฒนธรรม. หน้า 25-28.
อนุกูล ศิริพันธ์. 2542. การจัดการโบราณสถานและสิ่งแวดล้อมโดยรัฐและชุมชน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อิศเรศ กุดหอม, บทบาทผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชนเมืองในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด, รัฐศาสตรมหาบัณฑิต: ปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2559.