เพศสถานะกับรูปแบบการใช้ชีวิต การศึกษาข้ามวัฒนธรรม (ไทย ออสเตรเลีย)

Main Article Content

Rungson Chomeya

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ชีวิตของเพศชายและหญิง (ทั้งในภาพรวมและรูปแบบการใช้ชีวิตย่อย 6 รูปแบบ) ในประเทศไทยและออสเตรเลีย และ (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการใช้ชีวิตของเพศชายและหญิงระหว่างตัวอย่างจากประเทศทั้งสอง ตัวอย่างในการศึกษาเป็นนิสิตปริญญาตรี จำนวน 213 คน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประเทศไทย 112 คน และมหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดรูปแบบการใช้ชีวิต ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบการใช้ชีวิต 6 แบบ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ระหว่าง .71 - .92 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า


  1. ในเพศชาย ตัวอย่างจากออสเตรเลีย มีรูปแบบการใช้ชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้านเช่นเดียวกับเพศหญิง ยกเว้นแบบสุขภาพนิยมในเพศชายที่อยู่ในระดับสูง นิยมแบบสุขภาพนิยมทั้งชายและหญิง ต่ำที่สุดในเพศชายได้แก่แบบแสวงหาความก้าวหน้า เพศหญิงได้แก่แบบอนุรักษ์นิยม ส่วนตัวอย่างจากประเทศไทย พบว่า ทั้งชายและหญิงมีรูปแบบการใช้ชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ยกเว้นแบบอนุรักษ์นิยมและแบบชอบใช้ชีวิตที่บ้านในเพศชายที่อยู่ในระดับสูง เพศชายนิยมแบบอนุรักษ์นิยม ต่ำที่สุดได้แก่แบบท่องราตรี เพศหญิงนิยมแบบสุขภาพนิยม ต่ำที่สุดได้แก่ แบบอนุรักษ์นิยมเช่นเดียวกับหญิงออสเตรเลีย

          2. รูปแบบการใช้ชีวิตของสองประเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านทั้งในเพศชายและหญิง ยกเว้นแบบสุขภาพนิยมในเพศชายพบว่าไม่แตกต่างกัน  โดยนิสิตจากไทยจะมีความชัดเจนของรูปแบบการใช้ชีวิตมากกว่าออสเตรเลียในภาพรวมและในรายด้านทุกด้าน ทั้งในกลุ่มเพศชายและหญิง ยกเว้นแบบท่องราตรีทั้งชายและหญิง แบบสุขภาพนิยมในเพศหญิง ที่ออสเตรเลียมากกว่าไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

Rungson Chomeya, Faculty of Education Mahasarakham University Talard Sub District Muang District Mahasarakham Province 44000

Department and Education

References

วีรพงษ์ รามางกูร.(2560). ลักษณะเด่นของคนไทย. ประชาชาติธุรกิจ. วันที่ 16 ธันวาคม 2560.
Annandale, E. and Hunt, K. (2000) Gender Inequalities in Health. Buckingham: Open University Press.
Ashton Michael C.(2019). Individual Differences and Personality. Third Edition. London : Academic Press.
Barry, M.M and Other. (2009). SLÁN 2007: Survey of Lifestyle, Attitudes and Nutrition in Ireland. Mental Health and Social Well-being Report. Department of Health and Children. Dublin : The Stationery Office.
Carson, Robert C..(2019). Interaction concepts of personality. New York : Routledge Taylor & Francis Group.
Cosmas Stephen C. (1982). Life Styles and Consumption Patterns. Journal of Consumer Research, Vol. 8 (4) March, 453-455.
Dowdy Shirley, Wearden Stanley and Chilko Daniel.(2004). Statistics for research. Thirth edition. New Jersey. Wiley-Interscience A JOHN WILEY & SONS, INC. PUBLICATION.
Hanh Tiet and Other. (2014). “A cross cultural comparison of health related quality of life and its associated factors among older women in Vietnam and Australia” BMC Research Notes. 11(174) : 1 – 7.
Healey Joseph F.(2015). The Essentials of Statistics : A Tool for Social Research. Boston, Cengage Learning. Wadsworth Publishing.
Hofstede Geert and McCrae R. Robert.(2004). Personality and Culture Revisited: Linking Traits and Dimensions of Culture. Cross-Cultural Research. February 2004 : 38 – 52.
Kingsley, D. (1982). Human Society. New York : Harper & Row.
Mazhariazad F. and Rozbe N..(2014). The relationship between lifestyle and general health of students at Islamic Azad University of Bandar Abbas. Hormozgan Medical Journal. Vol 18, No. 6, Feb-Mar 2015 : 482-489.