การเดิน (จงกรม) ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างไร ?

ผู้แต่ง

  • สรรเสริญ จงผดุงสัตย์ นักวิชาการอิสระ, 1403/450 แชปเตอร์ เจริญนคร-ริเวอร์ไซด์, แขวงบางลำพูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การเดินจงกรม, สมาธิ, สติ, สุขภาพกาย, สุขภาพจิต

บทคัดย่อ

             จากสภาพสังคมและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาแทนแรงงานคน ทำให้ผู้คนในสังคมปัจจุบันบันรวมถึงเด็กและเยาวชนเกิดความเครียดและความกังวลใจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานบริษัทฯ และทุกคนก็มีการพยายามหาวิธีที่จะลดความเครียดของตนด้วยวิธีการที่หลากหลายและมีหลายวิธีการที่ผิดและแก้ปัญหาได้ชั่วคราวเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วทุกคนสามารถแก้ปัญหาความเครียดและความกังวลใจได้ด้วยตนเอง เพียงแค่เปลี่ยนวิธีการที่เป็นไปตามธรรมชาติและสามารถทำได้ด้วยตนเอง

             การฝึกสติและสมาธิเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยลดความเครียดและความกังวลใจได้ และการฝึกที่ง่ายและสามารถทำได้ตลอดเวลา คือ การเดินอย่างมีสติและเป็นสมาธิหรือเรียกว่า “การเดินจงกรม” จากงานวิจัย และบทความที่แสดงไว้ที่รายการอ้างอิง   พบว่าการเดินจงกรมมีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพกาย เช่น สุขภาพหัวใจและหลอดเลือดที่ดีขึ้น พัฒนาความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ควบคุมน้ำหนัก สร้างความยืดหยุ่นของข้อต่อและความแข็งแรงของกระดูก และยังสามารถกระตุ้นการไหลเวียนและเพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพของประสาทส่วนปลาย ในส่วนของสุขภาพจิต การเดินจงกรมยังช่วยในการพัฒนาสติ ลดความเครียดและความวิตกกังวล การควบคุมอารมณ์ เป็นต้น

             การเดินจงกรมมีหลายวิธีซึ่งอาจสรุปได้เป็น การเดินจงกรมโดยแบ่งก้าวเท้าเป็นระยะ การเดินจงกรมโดยการกำหนดบริกรรม และการเดินทั่วไปแต่กำหนดจิตอยู่ที่กายขณะเดิน แต่ละวิธีมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน คือ ให้เกิดการจดจ่อ เกิดสติ หรือเกิดสมาธิระหว่างที่เดิน จึงถือว่าเป็นการฝึกและพัฒนาสติ สติทำหน้าที่เป็นเหมือนกับผู้เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของจิตใจ และกระบวนการที่เกิดขึ้นในจิตใจ สติจึงเป็นส่วนสำคัญที่คอยกำกับพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกให้ถูกต้องเหมาะสม จิตและกายมีการสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด เมื่อจิตใจสบาย ก็ทำให้ร่างกายแข็งแรง นอกจากนั้น การเดินยังถือเป็นการออกกำลังกายที่ทำได้ง่าย ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ แต่มีคนส่วนน้อยที่เห็นประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ของการฝึกสติด้วยการเดินอย่างมีสติ หรือการเดินจงกรม เพราะ “จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้ (จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ)”

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2567). บริษัทเทคโนโลยีเลย์ออฟปี 66 ต่อเนื่องปี 67 ทะลุ 30,000 ตำแหน่ง. สืบค้น 10 เมษายน 2567, จาก https://www.bangkokbiznews.com/world/1111866

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก เล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 14. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ธนาวุฒิ เลิศเอกธรรม. (2563). มหัศจรรย์ของการเดิน เดินให้ถูกยืดชีวิตให้ยาวขึ้น. สืบค้น 15 มีนาคม 2567, จาก https://url.in.th/gTQUO

พระพรสิทธิ์ เตชปญฺโญ (พรมพิมาย). (2558). การศึกษาความเข้าใจเรื่องการเดินจงกรมในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนของอุบาสกอุบาสิกา วัดหทัยนเรศวร์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

พุธิธาดา เดชพิทักษ์. (2561). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธจิตวิทยา (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ. (2562) หนังสือแน่ใจไหมว่าคุณไม่อ้วน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. การเดินจงกรม ยืน นอน. สืบค้น 15 มีนาคม 2566, จาก https://adm-vipassana.mcu.ac.th/index.php/meditation-2/

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.

“_______”. (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : บริษัท สื่อตะวัน จำกัด.

สมเด็จพระญาณวชิโรดม (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร). (2540). หลักสูตรครูสมาธิ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สถาบันพลังจิตตานุภาพ.

“_______”. (2540). หลักสูตรครูสมาธิ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : สถาบันพลังจิตตานุภาพ.

สุภาพ อิ่มอ้วน, แพรว โคตรุฉิน, ฐปนวงศ์ มิตรสูงเนิน และ มณีนุช ดอมไธสง. (2565). ผลของการเดินจงกรมต่อการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยที่มีประวัติความดันโลหิตสูงวิกฤต. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, ปีที่ 45(1), 47-60.

สุรพินิจ สายสถิตย์. (2562). ผลของการเดินจงกรมต่อการทรงท่าในผู้ที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมจากเบาหวานชนิดที่ 2 (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2567) ภาวะสังคมไทย ไตรมาสหนึ่ง ปี 2567. สืบค้น 15 มีนาคม 2566, จาก ttps://www.nesdc.go.th/main.php?filename=socialoutlook_report

อุษณา จันทร์กล่ำ. (2566). What worries Thailand ปีแห่งการสู้ต่อไป! ปี 2567 คนไทย 50% มองเศรษฐกิจเข้าขั้น ‘แย่’ ราคาสินค้า-ค่าครองชีพสูงขึ้น. สืบค้น 15 มีนาคม 2567, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2023/12/half-thais-rate-current-economic-situation-in-the-country-as-bad-in-2024/

David Nieman. (2020). Physical Activity, Weight Management Bolster Immune Defense against Respiratory Diseases, including COVID-19, App State professor reports. Retrieved 20 March 2024, from https://today.appstate.edu/2020/06/23/coronavirus-disease

Dustin W. Davis et all. (2022). A Systematic Review of the Effects of Meditative and Mindful Walking on Mental and Cardiovascular Health. International Journal of Exercise Science, 15(2), 1692-1734.

Jon Kabat-Zinn. (2021). Mindfulness Meditation for Everyday Life. London: Piatkus Books.

Kasper Meulesteen MA. (2021). Walking Meditations: The Potential Role and Challenges of Walking Meditation for Buddhist Spiritual Care. Vrije Universiteit, Amsterdam.

Oliver Carmack. (2020). Enhancing Creative Thinking Through Open Awareness Walking Meditation. Graduate School of Arts and Social Sciences (GSASS) Lesley University.

Ramp up your resilience! (Harvard Health Publishing). (2017). Retrieved 20 March 2024, from https://url.in.th/bGxqs

Ryan, R.M. & Deci, E.L. (2000). Self-determination Theory and the Facilitation Of Intrinsic Motivation, Special Development, and Well-being. American Psychologist.

Sara Spowart. (2014). Long-Term Mindfulness Meditation: Anxiety, Depression, Stress And Pain, Is There A Connection For Public Health?. University of South Florida.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-14

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ

หมวดหมู่