การสูบบุหรี่กับจริยธรรมความรับผิดชอบ

ผู้แต่ง

  • ณัฐรดา แฮคำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

การสูบบุหรี่, บุหรี่มือสอง, จริยธรรมความรับผิดชอบ, ผลกระทบ

บทคัดย่อ

           การสูบบุหรี่เป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้ยาเพื่อความบันเทิงที่พบบ่อยที่สุด ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยผู้คนมากกว่าพันล้านคนทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา การสูบบุหรี่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุสำคัญของโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น มะเร็งปอด หัวใจวาย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศและความพิการแต่กำเนิดและโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ เป็นต้น การสูบบุหรี่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่าห้าล้านคนต่อปี แสดงให้เห็นว่าสามารถคร่าชีวิตผู้สูบบุหรี่ระยะยาวเทียบได้กับอัตราการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยของผู้ไม่สูบบุหรี่ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ไม่สูบบุหรี่อีกด้วย  ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาด้านสุขภาพเพราะผลกระทบจากการสูบบุหรี่ทั้งของผู้สูบบุหรี่เองและผู้ไม่สูบเนื่องจากบุหรี่มือสอง มือสามด้วย หน่วยงานของไทยที่รับผิดชอบเรื่องสุขภาพรวมถึงองค์กรของพระพุทธศาสนาได้รณรงค์ทุกรูปแบบ เพื่อให้สังคมได้ตระหนักรู้ถึงพิษภัยของบุหรี่ บทความนี้มุ่งนำเสนอ ผลกระทบของการสูบบุหรี่ในสังคมไทยในหลากหลายมิติและจริยธรรมความรับผิดชอบของผู้สูบบุหรี่ที่พึงมีต่อสังคมโดยประยุกต์ใชหลักศีลห้าและหลักเมตตาธรรมโดยเน้นผู้สูบเข้าใจความจริง คือ ตัวเองเป็นผู้สูบที่พยายามเลิกหรือกำลังสูบก็ยังรักตัวเอง ไม่อยากให้ตัวเองเกิดโรคภัย คนอื่นสังคมรอบข้างก็รักสุขภาพ เกลียดโรคภัยเช่นกัน

References

กรมควบคุมโรค. (2566). รายงานประจำปี 2566. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

ชมรมนักศึกษาพยาบาลสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่. (2566). สรุปโครงการรำไพพรรณีร่วมใจสานพลังภายในมหาวิทยาลัย ลด ละ เลิก บุหรี่ไฟฟ้า. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ชลลดา ไชยกุลวัฒนา. (2560). พฤติกรรมสูบบุหรี่และปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นตอนต้นจังหวัดพะเยา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(3), 57-67.

ธนธร กานตอาภา. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 28(2),41-52.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โรงพยาบาลกรุงเพทพฯ นครราชสีมา. (2567). “ควันบุหรี่มือสาม” ภัยมืดที่มองไม่เห็น. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.bkh.co.th/smoke/

โรงพยาบาลวิภาวดี. (2024). “10 โรคแทรกซ้อนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า”. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://shorturl.at/rtER7

วศิน พิพัฒนฉัตร. (2561). พุทธศาสนา ศีลห้าและยาสูบ. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://shorturl.at /knrF8.

วิโรจน์ วีรชัย และคณะ. (2557). ยาและสารเสพติด (Drugs and Addictive Substances). การแพทย์ไทย 2554-2557. สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://shorturl.at/brY01

สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ และคณะ. (2566). บุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยร้ายทำลายเยาวชน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(5), 946-961.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2544). ความรู้เรื่องยาเสพติด. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://shorturl.at/DKRY3

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.). (2567). คัดเลือกยาอดบุหรี่เข้าสู่บัญชียาหลักช่วยลดความเสี่ยงเกิดมะเร็งปอด. สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://shorturl.at/ipvS1

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.,2566). จดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ ฉบับสร้างสุข, 19(259), 1-13.

สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย. (2562). “หญิงท้องสูบบุหรี่ “เสี่ยงแท้ง” เด็กในท้องปากแหว่ง “เพดานโหว่”. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://shorturl.at/forF5

BBC News ไทย. (2018). “งานวิจัยล่าสุดชี้ "ควันบุหรี่มือสอง" ทำให้เด็กเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคปอดเมื่อโตขึ้น”. สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://shorturl.at/jsyX1

U.S. Department of Health and Human Services. (2010). A Report of the Surgeon General: How Tobacco Smoke Causes Disease: What It Means to You. Atlanta: U.S.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-13

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ

หมวดหมู่