ปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่เป็นตัวทำนายภูมิคุ้มกันทางใจ ของบุคลากรโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • อดิศวร สุขพันธ์ุถาวร หลักสูตรพุทธจิตวิทยามหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธจิตวิทยา, ภูมิคุ้มกันทางใจ, สติ, จิตวิทยาเชิงบวก, โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

 

             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่มีอิทธิพลในการทำนายภูมิคุ้มกันทางใจ 2. เพื่อการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพุทธจิตวิทยากับภูมิคุ้มกันทางใจ 3. เพื่อศึกษาระดับภูมิคุ้มกันทางใจ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูกจาก กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของโรงพยาบาลไทรน้อย จำนวน 144 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ

             ผลการวิจัยพบว่า

  1. ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยามีอิทธิพลในการทำนายระดับภูมิคุ้มกันทางใจของบุคลากรโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีด้วยกัน 3 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำนายมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ ความยืดหยุ่น การรับรู้ตามความเป็นจริง และการมองโลกในแง่ดี โดยปัจจัยทั้ง 3 นี้ สามารถร่วมกันทำนายภูมิคุ้มกันทางใจของบุคลากรโรงพยาบาล ได้ร้อยละ 43.9
  2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพุทธจิตวิทยากับภูมิคุ้มกันทางใจของบุคลากรโรงพยาบาล พบว่า ปัจจัยพุทธจิตวิทยา ได้แก่ สติและจิตวิทยาเชิงบวกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภูมิคุ้มกันทางใจในระดับน้อยถึงปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. บุคลากรโรงพยาบาล มีระดับภูมิคุ้มกันทางใจโดยรวม (gif.latex?\bar{x} = 3.63, S.D. = .338) อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเข้มแข็งทางใจ (อึด) (gif.latex?\bar{x} = 3.76, S.D. = .394) อยู่ในระดับมาก รองลงมา ด้านสามารถต่อสู้กับปัญหาอุปสรรค (สู้) (gif.latex?{\bar{x}}'' = 3.66, S.D. = .446) อยู่ในระดับมาก และด้านศรัทธาและกำลังใจที่ดี (อึด) (gif.latex?\bar{x} = 3.33, S.D. = .437) อยู่ในระดับปานกลาง

References

จิตรภานุ ดำสนวน. (2560). ปัจจัยที่เป็นตัวพยากรณ์ภูมิคุ้มกันทางใจของวัยรุ่นในอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

เทพไทย โชติชัย และ พนมพร มีระเกตุ. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับพลังสุขภาพจิตของบุคลากร.ใน การประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ประจำปี 2555. (ชุมชนท้องถิ่น ฐานรากการพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”16-19 กุมภาพันธ์ 2555). ขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร.

นันทาวดี วรวสุวัส. (2563). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางใจ ป้องกันภาวะหมดไฟ ดูแลใจคนทำงาน สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), 603-613.

ปัญจรีย์ จุลไกรอานิสงส์. (2560). การประยุกต์ใช้สติเพื่อพัฒนาการทำงานอย่างมีสันติสุขของแรงงานฝ่ายผลิต: ศึกษากรณีห้างหุ้นส่วนจำกัด คอนติเนนตัลนิตติ้ง (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

พนมพร มีระเกตุ และ เทพไทย โชติชัย. (2554). พลังสุขภาพจิตของบุคลากร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรขอนแก่น.

สายสมร เฉลยกิตติ. (2554). การพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพยาบาลวิชาชีพโดยการให้คําปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ (ปริญญานิพนธ์ กศ.ต.). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก http://thesis.swu.ac.th/Swudis

สัญชาติ พรมดง. (2562). ทุนทางจิตวิทยาด้านบวกมีผลในเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฎิบัติงานของพนักงานบริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน). วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(2), 141-156.

Grotberg, E. H. (1995). A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. The Hague, Netherland. Bernard Van Foundation.

Luthans, F, Youssef, C. M. & Avolio, B. J. (2007). Psychological capital: Developing the human competitive edge. Oxford, UK: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย

หมวดหมู่