พุทธจิตวิทยา : การให้คำปรึกษาในพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระมหาสายัณห์ วงศ์สุรินทร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • สำราญ ศรีคำมูล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหายงยุทธ์ ทำพะพันนะ โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธจิตวิทยา, การให้คำปรึกษา, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

         บทความวิชาการนี้มุ่งวิเคราะห์ความหมายของการให้คำปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา แนวคิดการให้คำปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา เป้าหมายของการให้คำปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา ลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา และขั้นตอนและกระบวนการให้คำปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา การให้คำปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา เป็นกระบวนการที่พัฒนาสติปัญญาและเยียวยาจิตใจของบุคคลผู้มีความทุกข์ให้พ้นจากทุกข์ รวมทั้ง ช่วยพัฒนาจิตใจของบุคคลให้สามารถอยู่กับการเปลี่ยนแปลงและเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเข้าใจ การให้คำปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา ใช้หลักอริยสัจมาเป็นแนวคิดในการให้คำปรึกษา เพราะมุ่งให้บุคคลเข้าใจถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติของสรรพสิ่ง รู้จักสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหา ตลอดจนเยียวยารักษาให้พ้นจากความทุกข์ การให้คำปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยาสามารถทำให้ผู้มารับคำปรึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านพฤติกรรม ด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ และด้านทัศนคติต่อโลกและชีวิต ดังนั้น การให้คำปรึกษาแก่บุคคลในแต่ละครั้ง พระพุทธองค์ทรงมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทัศนคติของผู้มารับคำปรึกษาไปในทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการบรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่งรวมถึงการเข้าถึงพระนิพพานและดับความทุกข์ได้ในที่สุด

References

ประทีป พืชทองหลาง. (2556). รูปแบบการปรึกษาเชิงพุทธตามหลักกัลยาณมิตร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

พระครูปลัดมารุต วรมงฺคโล. (2553). การศึกษาวิเคราะห์พุทธจิตวิทยาในพระไตรปิฎก (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2532). การศึกษาที่สากลบนฐานแห่งภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ : มัชเฌนธรรมเทศนา/มัชฌิมาปฏิปทา หรือ กฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. นนทบุรี : บริษัท เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.

“_______”. (2545). พุทธศาสตร์กับการแนะแนว (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : กองทุนวุฒิธรรมเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม.

“_______”. (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

“_______”. (2550). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มั่นเกียรติ โกศลนิรัติวงษ์. (2541). พุทธธรรมทฤษฎีและเทคนิคการให้คำปรึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุวิริยาศาสน์.

โสรีย์ โพธิ์แก้ว. (2553). จากจิตวิทยาสู่พุทธธรรม. นครปฐม : บริษัท วี.พริ้นท์ จำกัด.

อาภา จันทรสกุล. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

“_______”. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษา หน่วยที่ 11 หลักธรรมและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Sucaromana, A. (2016). Resilience Quotient: RQ. Journal of MCU Peace Studies, 4(1), 209-220.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-11