ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยบูรณาการ เกมกระดาน “เมืองชล” ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยบูรณาการเกมกระดาน “เมืองชล” และ 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของกลุ่มทดลองกับทักษะ การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยบูรณาการเกมกระดาน “เมืองชล” ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) แบบทดสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.26- 0.62 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.35 - 0.72 และ ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.84 โดยผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองเป็นระยะเวลา 20 ชั่วโมง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Downloads
Article Details
References
จันทร์เพ็ญ ชมชัยแก้ว. (2563). บอร์ดเกมหรือเกมกระดาน (Board game). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 จาก http://www.snc.lib.su.ac.th/kmblog/?p=862.
ทัศนีย์ เศรษฐพงศ์ และ วิภาวรรณ เอกวรรณัง. (2563). การพัฒนาความสามารถในการรู้เรื่องการอ่านตามแนวทางการสอบแบบ PISA โดยใช้แนวคิดการอ่านจากต้นแบบของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 43(1), 85 - 98.
ธชวรรณ กวยระคาร และ ธรรศนันต์ อุนนะนันทน์. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบกลวิธี การเสริมต่อการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม. Journal of Modern Learning Development, 7(4), 234 - 248.
ปณิธาน หินผา. (2564). การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้วิธีการสอนคิดออกเสียงร่วมกับบอร์ดเกมออนไลน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
ปรียารัตน์ ศรีชัยวงค์. (2564). วัฒนธรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจในยุคศตวรรษที่ 21: มองผ่านหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(6), 2678 - 2689.
พระอุดมธีรคุณ และ บัณฑิตา จารุมา. (2563). ภาษาและวัฒนธรรม: ความหมาย ความสำคัญ และ ความสัมพันธ์ระหว่างกัน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(2), 53 - 63.
มณัญญา มานะรัชศักดิ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
รัชชประภา วิจิตรโสภา, รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์, และ ปริญญา ทองสอน. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการอ่านแบบ SQ3R เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่าน และพฤติกรรมการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์). วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(1), 57 - 69.
โรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม. (2566). รายงานวิธีการและผลการดำเนินงาน ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล (ScQA) ประจำปี 2566. ชลบุรี: สำนักพิมพ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง.
สมคิด พรมจุ้ย. (2563). เทคนิควิธีการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
สรเดช บุญประดิษฐ์, ธนีนาฎ ณ สุนทร, และ ชุติมา วัฒนะคีรี. (2564). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการ อ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การสอนทักษะการอ่าน แบบแผนภูมิความหมายและการสอนทักษะการอ่านแบบ SQ4R. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 54 - 69.
สังคร วิลัยศักดิ์. (2559). ระดับการส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษแก่นักเรียนของโรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 4(2), 1 - 10.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุชาติ แสนพิช. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เกมออนไลน์เพื่อพัฒนา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 113 - 126.
สุลัยญา หะยีหามะ, มีชัย วงศ์แดง, และ กุสุมา ล่านุ้ย. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ ครู คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 32(3), 175 - 186.
Alyona, O. S. (2021). Basic Principles of Communicative Grammar During English Lessons at Primary School. Science and Education Scientific Journal, 2(2), 365 - 369.
Carrol, B. (1983). Testing Communicative Performance. Oxford Pergamon Press.
Laksanasut, S. (2019). Bilingual Education in Thailand: Background, Implementation, Limitation, and Case Study. OEC Journal, 17(3), 54-59.
Mahsuri, M. (2021). Students’ Ability in Reading Comprehension of Da’wahand Islamic Communication Department at STAIN Bengkalis. Kaisa: Jurnal Pendidikan dan Pembelajaran, 1(2), 142 - 152.
Richards, J. C., Rodgers, T. S. (2014). Approaches and Methods in Language Teaching. (3rd ed.). Cambridge University Press.
Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning. (2nd ed). London: Allyn and Bacon.
Unnanantn, T. (2021). Effects of Thinking and Language Learning Integrated Model to Better the Academic Reading Skill of English Teachers. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education, 12(12), 2034 - 2045.