ระบบการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจกับนโยบายอุดหนุนสินค้าเกษตรของไทย

Authors

  • ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

การเกษตร, ระบบการเมือง, รายได้ประชาชาติที่แท้จริงโดยเฉลี่ย, ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ, อัตราเงินเฟ้อ, agriculture, political regime, real income per capita, GDP, inflation

Abstract

บทความชิ้นนี้ตรวจสอบผลกระทบของปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจต่อการตัดสินใจเพิ่มการควบคุมหรือการอุดหนุนสินค้าเกษตรของรัฐบาลไทย สมมุติฐานของบทความ คือ ระบอบประชาธิปไตยและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมีผลทำให้รัฐบาลตัดสินใจที่จะลดการควบคุมภาคการเกษตรเชิงนโยบาย เช่น การเพิ่มอัตราภาษีหรือการควบคุมราคา จากการศึกษาผลกระทบของระบบการเมืองกับปัจจัยที่แสดงความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (ผลผลิตมวลรวมรายได้ประชาชาติโดยเฉลี่ยและผลผลิตมวลรวมประชาชาติ) ต่อนโยบายการอุดหนุนสินค้าเกษตรของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 ถึง 2522 ผู้เขียนพบว่า การเพิ่มขึ้นของรายได้ประชาชาติโดยเฉลี่ยและการขยายตัวของผลผลิตมวลรวมประชาชาติมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการลดการจัดเก็บภาษีในภาคการเกษตร ระบบการเมืองไม่มีอิทธิพลต่อภาคการเกษตร ภาวะเงินเฟ้อมีอิทธิพลเชิงลบในระดับอ่อนต่อภาคการเกษตร บทความนี้บ่งชี้ว่าในขณะที่รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะลดการควบคุมภาคการเกษตรในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโต รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะเพิ่มการควบคุมภาคการเกษตรกลับด้วยการขึ้นภาษีและควบคุมราคาสินค้าสินเกษตรเมื่อเศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอย ดังนั้น รัฐบาลควรที่จะให้ความสำคัญกับการเพิ่มรายได้ของประชาชนและการกระตุ้นเศรษฐกิจเพราะมาตรการดังกล่าว มีส่วนช่วยเกษตรกร รัฐบาลไม่ควรที่จะขึ้นการจัดเก็บภาษีในภาคการเกษตรในห้วงเวลาเศรษฐกิจถดถอยเพราะเกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดกลุ่มหนึ่งของประเทศจะได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


Political Regime, Economic Development and Agricultural Subsidy Policy in Thailand

This paper examines the impact of political and economic factors on agricultural subsidy policy in Thailand. We hypothesize that democratic regime and economic growth leads to the reduction in the government’s controls (i.e., imposing more tax programs and controlling the commodity price) in the agricultural sector. Examining the impact of political regimes and economic growth (i.e., gross domestic product (GDP) per capita and gross domestic product) on agriculture subsidy policy in Thailand from 1970 to 2009, we find that higher GDP per capita and growth of the country’s GDP are positively associated with lower control programs in agriculture. Political regime type does not have a significant impact. Inflation has a negative, but weak impact on the sector. This indicates that, while the government is likely to reduce taxes in agriculture during the economic growth periods, it is likely to impose higher taxes on farmers during the recession. Therefore, the government should concentrate on increasing people’s income and sustaining growth because these measures help the farmers. In the midst of economic decline, it should not implement tax increase because the farmers, who are among the poorest groups of people, are inevitably affected by the government’s decision, nonetheless.

Downloads

How to Cite

ไล่ประกอบทรัพย์ ธ. (2016). ระบบการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจกับนโยบายอุดหนุนสินค้าเกษตรของไทย. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 2(1), 81–98. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/62698

Issue

Section

บทความวิจัย