การพัฒนาศักยภาพพนักงานในธุรกิจก่อสร้าง กรณีศึกษา บริษัทรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดมหาสารคาม

Authors

  • มังกร ตัณฑะศิลป์ สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมและวิสาหกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุกัญญา เอมอิ่มธรรม สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เพ็ญศรี เจริญวานิช สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

การพัฒนา, ศักยภาพ, พนักงานในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง, Developing, Potential, Constructions industry

Abstract

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงศักยภาพ ปัญหาอุปสรรค ความต้องการและแนวทางการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในธุรกิจก่อสร้าง กรณีศึกษา บริษัทรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดมหาสารคาม ผลการศึกษาวิจัยพบว่า พนักงานมีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาและอุปสรรคอยู่ในระดับน้อยความต้องการและแนวทางในการพัฒนาศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง การพัฒนาศักยภาพพนักงานควรดำเนินการ 4 แนวทาง 1) การทำงานเป็นทีม เพราะพนักงานมาจากภูมิลำเนาเดียวกัน พร้อมจะยอมรับการแนะนำจากหัวหน้างานที่มีประสบการณ์สูงกว่า 2) แนะนำวิธีการใหม่ๆ และถูกต้อง ซึ่งพนักงานพร้อมที่จะสอบถามถึงวิธีการทำงาน และเรียนรู้วิธีการทำงานด้วยตนเองอยู่เสมอ 3) เพิ่มค่าแรงงานเพื่อสร้างแรงจูงใจ 4) หน่วยงานราชการหรือภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมจัดการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานและประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเพราะบริษัทรับเหมาก่อสร้างพร้อมที่จะส่งพนักงานของตนเข้ารับการฝึกอบรม


Development of Human Potential in the Construction Business Case Study: Construction Companies in Mahasarakam Province

The purpose of this research is the study of potential, obstacles and solutions in order to assist the development of construction workers. The result of the research proved that workers in Mahasarakam, have moderate potential, problems, obstacles are slight and the requirements for development and solution direction are moderate. However, the obstacles to potential development are in 4 directions. 1) The workers should work as a team because the workers who come from the same locality accept instruction, admonishment and teaching from their supervisor or a more experienced worker. 2) Provide new and accurate advice for the workers, they are prepared to ask about the right procedures and study for themselves. 3) Increase wages and incentives, these can impact upon future development. 4) Concerned government, non-government and private organizations should support skills development, training and publicize training courses because construction companies are prepared to send their workers to join the schemes.

Downloads

How to Cite

ตัณฑะศิลป์ ม., เอมอิ่มธรรม ส., & เจริญวานิช เ. (2016). การพัฒนาศักยภาพพนักงานในธุรกิจก่อสร้าง กรณีศึกษา บริษัทรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดมหาสารคาม. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 2(1), 33–50. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/62696

Issue

Section

บทความวิจัย