ประเพณีนมัสการพระพุทธบาทบัวบก : พัฒนาการประเพณี พิธีกรรม สู่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุดรธานี
ประเพณีนมัสการพระพุทธบาทบัวบก : พัฒนาการประเพณี พิธีกรรม สู่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ประเพณี, พิธีกรรม, รอยพระพุทธบาท, มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, จังหวัดอุดรธานีบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของงานประเพณีนมัสการพระพุทธบาทบัวบก เพื่อศึกษาประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อในงานประเพณีนมัสการพระพุทธบาทบัวบก และเพื่อศึกษาคุณค่าทางวัฒนธรรมของประเพณีนมัสการพระพุทธบาทบัวบก วัดพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี วิธีการวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัย พบว่า ภูพระบาทเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาและความเชื่อมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมาถึงยุควัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมขอม และวัฒนธรรมล้านช้าง พระพุทธบาทบัวบก เป็นรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนไหล่เขาภูพระบาท เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์สีทัตถ์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุขึ้นใหม่ หลังการสร้างเสร็จเรียบร้อยได้จัดให้มีการทำบุญเพื่อเฉลิมฉลองสมโภชองค์พระธาตุและได้มีการสืบทอดงานดังกล่าวเป็นประเพณีประจำปีของวัดและได้พัฒนามาเป็นงานประเพณีนมัสการปิดทองรอยพระพุทธบาทในปัจจุบัน โดยมีพิธีกรรมเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาท และตำนานพญามิลินทนาค ถือเป็นงานประเพณีประจำปีของวัดและของชุมชนที่มีมายาวนานเกือบ 100 ปี ซึ่งมีความสำคัญต่อการสืบสานพระพุทธศาสนาในท้องถิ่น พุทธศาสนิกชนและชุมชนโดยรอบภูพระบาทมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้ประเพณีนี้สืบสานมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ชุมชนยังมีส่วนสำคัญต่อการรักษาอัตลักษณ์ของงานบุญประเพณีควบคู่ไปกับการรักษาตำนานอุษา-บารสและการรักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทด้วย ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ใกล้จะสูญหายไปจากสังคม สมควรอย่างยิ่งที่รัฐและท้องถิ่นต้องร่วมกันส่งเสริม สืบสาน และอนุรักษ์ให้ต่อเนื่องไปถึงยังอนุชนรุ่นหลัง
References
กระทรวงวัฒนธรรม. (2565). ข้าวพันก้อน. สืบค้นจาก https://www.m-culture.go.th/sisaket/ewt_ news. php?nid =949 &file name=index
กระทรวงวัฒนธรรม. (2565). แบบจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (มภ.2) เรื่อง งาน
ประเพณีนมัสการพระพุทธบาทบัวบก. สืบค้นจาก https://www.m-culture.go.th/udonthani/ewt_dl_link.php?nid=1085
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2565). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. สืบค้นจาก http://ich.culture.go.th/
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (ม.ป.ป.). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน. ม.ป.พ.
คณะศิษยานุศิษย์. (2554). จันทร์ศรีผ่องเพ็ญ อนุสรณ์ 100 ปี หลวงปู่จันทร์ศรี จันทะทีโป. สมุทรปราการ: ไทยบริติช ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง.
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 23. (2550). คุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
เชิดชาย บุตดี. (2557). บทบาทญาคูสีทัดต่องานพุทธศิลป์เหนือสองฝั่งโขง. วารสารศิลปวัฒนธรรม, 35(7), 122-145.
ฐานข้อมูลทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นด้านพุทธศิลป์ในภาคอีสาน. (2565). วัดพระพุทธบาทบัวบก. สืบค้นจาก https://cac.kku.ac.th/esanart/19%20Province/Udon%20Thani/praputabat/UD%20praputabat.html
ฐานข้อมูลโบราณสถานสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศูนย์ศึกษาศิลปกรรมโบราณในเอเชียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2556). พระพุทธบาทบัวบก. สืบค้นจาก http://www.archae.su.ac.th/art_in_thailand/?q=node/788
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2560). งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก. สืบค้นจาก https://www.sac.or.th/databases/rituals/detail.php?id=99
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2565). Diffusion. สืบค้นจาก https://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/35
ประกาศจังหวัดอุดรธานี. (2562). การขึ้นทะเบียนรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ปี 2562.
พระยาอนุมานราชธน. (2514). วัฒนธรรมและธรรมเนียมประเพณีตาง ๆ ของไทย. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
วราวุฒิ คำพานุช. (2564). การเปลี่ยนแปลงทางด้านมรดกทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเวียดนามในยุคโลกาภิวัตน์ กรณีศึกษาวัดเจริญบุญ (วัดญวน) อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 64-82.
สุมิตร ปิติพัฒน์. (2558). บ้านผือ: ร่องรอยจากอดีต (พิมพ์ครั้งที่ 4). อุดรธานี: บ้านผือการพิมพ์.
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุดรธานี. (ม.ป.ป.). วัดพระพุทธบาทบัวบก. สืบค้นจาก http://udn.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=228:2009-07-30-02-41-28&catid=71:-9-1&Itemid=245
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2559). ปรัชญาวัฒนธรรม. วารสารราชบัณฑิตยสภา, 41(2), 48.
สาธิต พนารี. (2557). กระบวนทัศน์ใหม่การบริหารจัดการวัดยุคโลกาภิวัตน์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลย์อลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.
สุพัตรา สุภาพ. (2520). สังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุทธาธิกุล กาญจนภรางกูร. (2544). การวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวบ้านที่มีต่ออนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อุดร จันทวัน. (2547). นิทานอุรังธาตุ (ฉบับลาว) ตำนานพญานาคลุ่มน้ำโขง. วิทยาลัยสงฆ์เลย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อมรา พงศาพิชญ์. (2542). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.