ทัศนคติทางภาษาและการเลือกภาษาของคนไทยเชื้อสายจีนในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา

Language Attitude and Language Choice of Thai - Chinese in Betong District, Yala Province

ผู้แต่ง

  • ฟ่าน หมิงซิน สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • นารีรัตน์ วัฒนเวฬุ สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

ทัศนคติทางภาษา การเลือกภาษา คนไทยเชื้อสายจีน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติทางภาษาและการเลือกภาษาของคนไทยเชื้อสายจีนในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือคนไทยเชื้อสายจีนในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มอายุน้อย (อายุต่ำกว่า 25 ปี) กลุ่มอายุกลาง (30-45 ปี) และกลุ่มอายุมาก (60 ปีขึ้นไป) กลุ่มละ 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ

ผลการศึกษาด้านทัศนคติต่อภาษา พบว่ากลุ่มอายุมากมีทัศนคติเชิงบวกต่อภาษาจีนกลางมากที่สุด (4.83) กลุ่มอายุกลางและกลุ่มอายุน้อยมีทัศนคติเชิงบวกต่อภาษาไทยมาตรฐานมากที่สุด (4.44, 4.42) เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติทางภาษาระหว่าง 3 กลุ่มอายุ พบว่ากลุ่มอายุมากมีทัศนคติเชิงบวกต่อภาษาจีนกลางและภาษาจีนถิ่นมากกว่าอีกสองกลุ่มอายุ ส่วนกลุ่มอายุกลางมีทัศนคติเชิงบวกต่อภาษาไทยมาตรฐานมากกว่าอีกสองกลุ่มอายุ

ด้านการเลือกภาษา พบว่าทั้ง 3 กลุ่มอายุไม่ได้เลือกภาษาใดภาษาหนึ่งเพียงภาษาเดียวตามแวดวงการใช้ภาษา โดยในแวดวงการใช้ภาษาที่ไม่เป็นทางการ กลุ่มอายุมากเลือกภาษาจีนถิ่นหรือภาษาที่ปะปนกับภาษาจีนถิ่น กลุ่มอายุกลางและกลุ่มอายุน้อยเลือกภาษาไทยมาตรฐาน ในแวดวงการใช้ภาษาที่เป็นทางการ กลุ่มอายุมากเลือกภาษาจีนกลางในแวดวงโรงเรียนและเลือกภาษาไทยมาตรฐานในแวดวงทำงาน กลุ่มอายุกลางเลือกภาษาไทยมาตรฐานทั้งสองแวดวง ส่วนกลุ่มอายุน้อยเลือกภาษาไทยมาตรฐานในแวดวงโรงเรียนและเลือกภาษาจีนกลางในแวดวงทำงาน ผลของการเลือกภาษาสอดคล้องกับทัศนคติต่อภาษา เช่น กลุ่มอายุกลางมีทัศนคติเชิงบวกที่สุดต่อภาษาไทยมาตรฐาน ดังนั้นจึงเลือกภาษาไทยมาตรฐานมากกว่ากลุ่มอายุอื่น นอกจากนี้ พบว่าภาษาจีนถิ่นอยู่ในภาวะการเปลี่ยนภาษา เนื่องจากกลุ่มคนอายุน้อยเลือกภาษาจีนถิ่นในการสื่อสารน้อย

คำสำคัญ: ทัศนคติทางภาษา, การเลือกภาษา,  คนไทยเชื้อสายจีน,  อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

Author Biography

นารีรัตน์ วัฒนเวฬุ, สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

*Corresponding author

References

โครงการศูนย์ความเป็นเลิศ. (2563). ประชากร. สืบค้นจาก http://fms.yru.ac.th/betong/page/68/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3.html

ณัฐพล ชารีรักษ์ และ วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา. (2564). ภาวะหลายภาษาของวัยรุ่นผู้ไทในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 10(1), 54-80.

นันทนา วงษ์ไทย. (2563). ทัศนคติทางอ้อมของกลุ่มชาติพันธุ์มลายูปาตานีต่อผู้พูดภาษามลายูปาตานีและผู้พูดภาษาไทยมาตรฐาน. Journal of Liberal Arts, Prince of Songkla University, 12(2), 98-120.

ภัสร์ธีรา ฉลองเดช. (2559). สถานการณ์และทัศนคติการใช้ภาษาตากใบ ในอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วรรธนะ ปัญบุตร. (2561). ทัศนคติต่อภาษาและการเลือกภาษาของชาวผู้ไท อำเภอคำม่วง และอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

วรรธนะ ปัญบุตร และสุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2561). การเลือกภาษาของชาวผู้ไทอำเภอคำม่วงและอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. Veridian E-Journal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 1747-1766.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2532). คำจำกัดความศัพท์ในภาษาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรประพิณ กิตติเวช. (2559). ทัศนคติต่อภาษาไทยถิ่นกำแพงแสนและการแปรของวรรณยุกต์ตามปัจจัยทางสังคม: การศึกษาแนวสัทศาสตร์เชิงสังคม (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

อรประพิณ กิตติเวช จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และจุฑามณี อ่อนสุวรรณ. (2560). ปัจจัยทางสังคมและทัศนคติของชาวกำแพงแสนต่อภาษาไทยถิ่นของตน. Veridian E-Journal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1785-1802.

อำนาจ ปักษาสุข. (2561). ทัศนคติทางภาษาของวัยรุ่นไทยที่มีต่อผู้พูดภาษาไทยกลาง และผู้พูดภาษาไทยถิ่นอีสาน. วารสารสหศาสตร์, 18(2), 65-87.

Fasold, R. (1984). The Sociolinguistic of Society. Oxford: Basil Blackwell.

Garrett, P. (2010). Attitudes to language: Key topics in sociolinguistics. Cambridge University Press.

Holmes, J. (2013). An Introduction to Sociolinguistics. Edinburgh: Pearson Education Limited.

Wang, J. (2017). Survey of Current Situation among Uygur College Students in Language Life. Journal of Xinjiang Normal University (Philosophy and Social Sciences), 38(1), 153-160.

Wang, Y. (2015). Identity for Cultures of Three Languages and the Second Language Acquisition of Minority Students at Higher Vocational Colleges—Based on 10 Higher Vocational Colleges in Yunnan Province. Journal of Research on Education for Ethnic Minorities, 26(1), 109-113.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-26

How to Cite

หมิงซิน ฟ., & วัฒนเวฬุ น. (2022). ทัศนคติทางภาษาและการเลือกภาษาของคนไทยเชื้อสายจีนในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา: Language Attitude and Language Choice of Thai - Chinese in Betong District, Yala Province. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 11(1), 101–125. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/257271