คติความเชื่อและพิธีกรรมในการตั้งศาลพระภูมิของชาวไทยพุทธ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

คติความเชื่อและพิธีกรรมในการตั้งศาลพระภูมิของชาวไทยพุทธ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • อ้อมใจ วงษ์มณฑา สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • บัญชา สำเร็จกิจ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

คำสำคัญ; คติความเชื่อ, พิธีกรรม, พระภูมิ, ศาลพระภูมิ

บทคัดย่อ

          ความเชื่อเกี่ยวกับพระภูมิเจ้าที่มีอยู่จริงและมีอำนาจให้คุณให้โทษแก่ผู้ที่อยู่อาศัยหรือทำกิจกรรมในสถานที่นั้น บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา พิธีกรรมในการตั้งศาลพระภูมิและคติความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อการดํารงชีวิตของชาวไทยพุทธอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ชาวบ้านและปราชญ์ชาวบ้านที่มีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่บ้านโคกโพธิ์ หมู่บ้านมะกรูด หมู่บ้านบางโกระ หมู่บ้านนาเกตุ จังหวัดปัตตานี

          จากการศึกษาพบว่า ประวัติความเปนมา พิธีกรรม และคติความเชื่อในการตั้งศาลพระภูมิถือเป็นชุมชนเข้มแข็งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประชาชนมีความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรมให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสงบสุข และเป็นชุมชนที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธเป็นจำนวนมาก ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

            อิทธิพลของศาลพระภูมิที่มีต่อผู้ที่ตั้งศาลไว้ในบ้านและครอบครัวย่อมส่งผลให้เกิดอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต ในภาวการณ์เปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ดังนี้

          1) ด้านสังคม เชื่อว่าส่งผลต่อการดำรงชีวิต เนื่องจากคติความเชื่อที่แฝงอยู่ในข้อปฏิบัติและข้อห้ามไม่ส่งผลให้เป็นเป็นรูปธรรม หากแต่เป็นการขัดเกลาจิตใจของผู้อาศัยในบ้านด้วยการวิธีซึมซับเอาแง่คิดต่างๆ ที่เกิดจากหลักปฏิบัติอย่างถูกต้องต่อพระภูมิ เป็นการช่วยสร้างความสัมพันธ์ภายในชุมชนกับคนนอกชุมชน และส่งเสริมให้เกิดการทำกิจกรรมร่วมกัน

          2) ด้านการศึกษา ความสำคัญของการสืบทอดภูมิปัญญาทางด้านนี้ของบรรพบุรุษไทยให้คงอยู่ต่อไปไม่สิ้นสูญ เนื่องจากการศึกษาสามารถเชื่อมโยงได้กับแขนงวิชาสาขาต่างๆ

          3) ด้านเศรษฐกิจ เชื่อว่าส่งผลให้เกิดลูกโซ่ขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ระหว่างผู้ตั้งศาลพระภูมิกับผู้ประกอบพิธี ระหว่างผู้ตั้งศาลพระภูมิกับพ่อค้าแม่ค้าที่ขายสินค้าเกี่ยวกับเครื่องสังเวยจนถึงอาหารคาวหวาน และห่วงโซ่ระหว่างพ่อค้าแม่ค้ากับเกษตรกรที่ผลิตสินค้าป้อนสู่ตลาด

          4) ด้านสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านถือกันว่าจะไม่ทำให้บริเวณนั้นสกปรก เพราะกลัวจะถูกลงโทษ และบริเวณที่ตั้งศาลพระภูมิจะไม่มีใครกล้าตัดไม้ทำลายป่า เพราะกลัวจะถูกลงโทษ

          จึงเห็นได้ว่าศาลพระภูมิมีอิทธิพลทางด้านจิตใจของผู้อยู่อาศัยโดยตรง เมื่อเราเกิดความสบายใจเป็นที่พึ่งทางใจ มีความปลอดภัยในชีวิตและความเป็นอยู่ ชาวบ้านจึงมีความเห็นตรงกันว่าการมีศาลพระภูมิไว้ในบ้านเป็นสิ่งที่ดี

References

แก้ว สุพรรโณ. (2543). ศาลพระภูมิ : เคล็ดวิธีและขอปฏิบัติอันจะก่อให้เกิดสิริมงคลแก่บ้านเรือน. กรุงเทพฯ: ไพลินบุคเน็ต.

จิรวรรณ บัวเผียน. (2538). ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับศาลพระภูมิของชาวบ้านอำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ และ สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2559). การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมในหมู่บ้านอีสาน : ศึกษากรณีหมู่บ้านนาป่าหนาด (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีรพล สยามพันธ์. (2538). ความเชื่อและพิธีกรรม ในการทํานาของชาวบ้าน ตำบลควรมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

นารถฤดี วิวัตติกุล. (2542). การดํารงอยู่ร่วมกันของกลุ่มความเชื่อผีเจ้านายและกลุ่มความเชื่อผีเทวดา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ปนิธิ ศรีชัย. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างศาลเจ้ากับหมู่บ้านกรณีศึกษาชุมชนหมู่ 1 บ้านนา ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ประเวศ วะสี และคณะ. (2536). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท เล่ม 1. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป.

พงศ์ธร แสงวิภาค. (2520). ฟื้นฟูวัฒนธรรมไทย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้น.เฮ้า.

พลูหลวง. (2547). โชคลาง สัญญาณ สังหรณ์ (รหัสวิทยา : พลังเร้นลับ). กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

พระฐิติภัทร์ ประสุ่มพั้ว. (2554). คติความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับศาลพระภูมิของประชาชนเขตเทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดเลย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.

มณี พยอมยงค์. (2536). ความเชื่อของคนไทยในวัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติความเชื่อ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยศ สันติสมบัติ. (2542). ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. ภาควิชาสังคมและมานุษยวิทยา และศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.

ว. จีนประดิษฐ์ (นามแฝง). (2534). พิธีการตั้งศาลพระภูมิและศาลทุกชนิด. กรุงเทพฯ: เจริญกิจ.

วงศ์ทิพย์ ปิณฑะสุต. (2513). พระภูมิเจ้าที่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร,นครปฐม.

สมพร รัตนบุรี. (2546). ภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้านคติความเชื่อและพิธีกรรมในการตั้งศาลพระภูมิที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของประชาชน : กรณีศึกษาชุมชนวัดบางสะแกใน และชุมชนสามัคคีธรรม แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี กรุงเทพฯ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพฯ.

สุกัญญา จันทะสูน. (2538). ภูมิปัญญาชาวบ้านและกระบวนการถ่ายทอด : การศึกษา “พิธีเสนเรือน” ของลาวโซ่ง จังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-26

How to Cite

วงษ์มณฑา อ., & สำเร็จกิจ บ. (2022). คติความเชื่อและพิธีกรรมในการตั้งศาลพระภูมิของชาวไทยพุทธ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี: คติความเชื่อและพิธีกรรมในการตั้งศาลพระภูมิของชาวไทยพุทธ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 11(1), 271–293. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/256648