การศึกษาปัญหาการแปลและการปรับบทแปลวรรณกรรมไทยเรื่อง “ข้างหลังภาพ”
การศึกษาปัญหาการแปลและการปรับบทแปลวรรณกรรมไทยเรื่อง “ข้างหลังภาพ”
คำสำคัญ:
การปรับบทแปล, กลวิธีการแปล, ปัญหาการแปลบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกลวิธีการแปลและการปรับบทแปลวรรณกรรมไทยเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ที่ประพันธ์โดย ศรีบูรพา และแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย มาร์เซล บารัง (Marcel Barang) ในการศึกษานี้ผู้วิจัยได้นำหลักเกณฑ์และกลวิธีในการปรับบทแปลของ เชวง จันทเขต (1985) โมนา เบเกอร์ (1992) และสัญฉวี สายบัว (1999) ประกอบกันเพื่อใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์และยังเป็นแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง อีกทั้งผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 ตัวอย่างจาก 20 บทของวรรณกรรม ซึ่งผ่านระดับในการวิเคราะห์ทั้ง 3 ระดับคือ 1)ระดับเสียงและการสร้างคำ 2) ระดับคำ และ 3) ระดับโครงสร้าง
ผลงานวิจัยครั้งนี้พบว่าในระดับเสียงและการสะกดคำ กลวิธีที่พบมากที่สุดคือ กลวิธีการสร้างคำ ร้อยละ 10.30 กลวิธีที่พบน้อยที่สุดคือ กลวิธีทับศัพท์ ร้อยละ 9.27 อีกทั้งในระดับคำ กลวิธีที่พบมากที่สุดคือ กลวิธีการใช้คำที่มีความหมายเป็นกลาง ร้อยละ 10.30 กลวิธีที่พบน้อยที่สุดคือ กลวิธีการใช้คำยืนหรือคำยืมพร้อมกับคำอธิบาย ร้อยละ 0.51 กับ การทดแทนวัฒนธรรม ร้อยละ 0.51 และระดับสุดท้ายคือระดับโครงสร้าง ซึ่งกลวิธีที่พบมากที่สุดคือ กลวิธีการเปลี่ยนวลีเป็นประโยคและเปลี่ยนประโยคเป็นวลี ร้อยละ 17.52 กลวิธีที่พบน้อยที่สุดคือ การถอดความโดยใช้คำที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 0.51 กับ กลวิธีการเพิ่มหรือการตัดคำ ร้อยละ 0.51 นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่าเป็นการแปลแบบตรงตัวและแบบเอาความ ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาในการแปลที่สำคัญซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน โดยสามารถแก้ไขด้วยกลวิธีการปรับบทแปลที่แตกต่างกันออกไป
References
Baker, M. (1992). In Other Words: A course book of translation. New York: Routledge.
Barang, M. (2009). Behind The Picture. Bangkok: Modern Thai Classic Press.
Chantaket, C. (1985). Translation for communication. Bangkok: Thaiwatanapanich Press.
Chuenchit, H. (1984). Translation: Career for People. Bangkok: United Production Press.
Ngampradit, K. (2012). An Analysis of Translation Strategies Used in the English Subtitles of the Thai Movie ‘Hello Stranger’.Dissertation. Applied Linguistics for English Language Teaching, (International Program), King’s Mongkut University of Technology Thonburi.
Pakawapakpoom, A., & Tipayasuparat, N. (2015). An Analysis of Translation Editing and Translation Techniques of the Literature "Twilight". Proceeding of 6th National Conference of Research for Sustainability Thailand, Phetchaburi Rajabhat University, (9 July 2016), 315-320.
Phonpalaharn, S., & Tipayasuparat, N. (2017). An Analysis of Translation Editing and Translation Techniques of the Children's Literature "A Little Princess". Proceeding of 7th Sukhothai Thammathirat Open University National Conference, (24 November 2017), 524-538.
Pinmanee, S. (2014). Advanced Translation. 2nd Edition. Bangkok: Chulalongkorn.
Pokasamrit, P. (2013). An Analysis of Cultural Substitution in English to Thai Translation. Silpakorn University Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts. 13(1): 215-230. Retrieved from http:// so02.tci-thaijo.org/index.php/hasss/article/view/8733
Roekmongkhonwit, C. (2006). A Study of Translation Strategies Employed in Jatujak Market Guidebook. Master's Project, M.A. (Business English for International Communication). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.
Saibua, S. (1999). Translation Principles. 7th Edition. Bangkok: Thammasat University Press.
Saipradit, K. (2016). Khang Lang Phap. 47th Edition. Nonthaburi: Dokya Press.
Supon, D. (1998).Theory and strategies of translation. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.