การใช้รูปแบบการสอนแบบบูรณาการภาษาศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถทางการออกเสียง คำศัพท์ และการแต่งประโยคภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา
การใช้รูปแบบการสอนแบบบูรณาการภาษาศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถทางการออกเสียง คำศัพท์ และการแต่งประโยคภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
การบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษ, โฟนิกส์, นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการอ่านออกเสียง การรู้คำศัพท์ และการแต่งประโยคภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา และสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอนแบบบูรณาการภาษาศาสตร์ โดยให้คุณครูใช้วิธีการสอนด้วยรูปแบบบูรณาการแนวคิดด้านภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยได้แก่ นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสพป. เขต 1-2 จังหวัดพะเยา จำนวน 36 คน จาก 6 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แผนการสอน สื่อการเรียนการสอน กิจกรรมการสอน และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งประกอบด้วย แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เรื่องความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบบูรณาการ
ผลการศึกษาพบว่า ผลคะแนนด้านการออกเสียง ความรู้จำคำศัพท์ และการแต่งประโยคของนักเรียนภายหลังการใช้รูปแบบบูรณาการ มีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้รูปแบบบูรณาการจากแบบสอบถามความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบบูรณาการ มีค่าเฉลี่ย 4.23 หรือเท่ากับความพึงพอใจระดับมาก
References
เจะสูฮานา หวังพิทยา และ นุรซัลวา อัลอิดรีสี. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ Phonics Read Fast สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบูดี สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. al-Hikmah Journal of Fatoni University, 4(8), 9-21.
ดารินทร อินทับทิม, อภิญญา ห่านตระกูล, ศุภาวรรณ ปิงใจ, เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต, พูนพงษ์ งามเกษม และเฉลิมพันธ์ แก้วกันทะ. (2562). การพัฒนาการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนเมี่ยนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมนด้วยกระบวนการสอนแบบโฟนิกส์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(1), 67-84.
นันทนา วงษ์ไทย. (2651). อรรถศาสตร์ปริชานเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: บริษัท เวิร์ค ออล พริ๊นท์ จํากัด.
บุญเลิศ วงศ์พรม. (8 เมษายน 2559). ภาษาอังกฤษเด็กไทยไม่ก้าวหน้าปัญหาอยู่ที่ใคร?. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637424.
ประสพสุข ฤทธิเดช. (30 พฤษภาคม 2560). ทางออกการศึกษาไทย ในมุมมอง ดร.ประสพสุข ฤทธิเดช. สืบค้นจาก https://suemuanchonnews.com/blog/ทางออกการศึกษาไทย-ในมุม/
มานิตย์ แก้วกันธะ, อินทร์ จันทร์เจริญ, จำนง แจ่มจันทรวงษ์ และพรภวิษย์ มนตร์วัชรินทร์. (2558). การบริหารสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่มีนักเรียนหลายชนเผ่าเรียนรวมกันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(2), 106-114.
พัชรี พลาวงษ์. (2555). อรรถศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.
รุจาพร สุนทรปาน, อุษา คงทอง และอรวรรณ ภัสสรสิร. (2557). การพัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมครูในการออกเสียงภาษาอังกฤษ ตามหลักโฟนิคส์. Journal of Education Khon Kaen University, 37(2), 94-102.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.
ลัดดาวัลย์ มิตรกูล, ประกอบ ใจมั่น และสายสวาท เกตุชาติ. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสานเทคนิคโฟนิกส์และการสอนภาษาแบบองค์รวมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(1), 22-30.
อภิญญา ห่านตระกูล, พิชญ์สินี เสถียรธราดล, นริศา ไพเจริญ, เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต, เฉลิมพันธ์ แก้วกันทะ, และดารินทร อินทับทิม. (2564). จากรูปแบบบูรณาการภาษาศาสตร์สู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(1), 87-109.
อาจารี ศิริรัตนศักดิ์. (2552). กรณีศึกษาการพัฒนาความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ชุดการสอนจอลลี่ โฟนิคส์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
Bald, J. (2007). Using Phonics to Teach Reading & Spelling. New York: SAGE Publications.
Lloyd, S. (2004). The Phonics Handbook. Essex: Jolly Learning Ltd.
Nida, E. (1975). Componential Analysis of Meaning: An Introduction to Semantic Structure. Berlin: De Gruyter Mouton Publisher.
Saeed, J. (2003). Semantics. UK: Blackwell Publishing.
Sathientharadol, P. (2020). The Use of Semantic Field Approach to Enhance English Vocabulary Development of Prathomsuksa 4 Students at Betty Dumen Border Patrol Police School, Phayao Province, Thailand. Interdisciplinary Research Review, 15(6), 22-30.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.