The หลักพุทธธรรมเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งกัน

หลักพุทธธรรมเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งกัน

ผู้แต่ง

  • ประดิษฐ์ ปะวันนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

พระพุทธศาสนา, การป้องกันปัญหาการกลั่นแกล้งกัน, การแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งกัน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาเหตุการณ์การกลั่นแกล้งกันที่ปรากฏในพระไตรปิฎก (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมสำหรับนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งกัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เก็บข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา เอกสารทุติยภูมิ ได้แก่ ตำรา เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

          ผลการวิจัยพบว่า (1) เหตุการณ์การกลั่นแกล้งกันที่ปรากฏในพระไตรปิฎกมีหลายเหตุการณ์ กล่าวคือ ในพระวินัยปิฎก มีไม่น้อยกว่า 17 เหตุการณ์ และในพระสุตตันตปิฎก มีไม่น้อยกว่า 10 เหตุการณ์ (2) หลักพุทธธรรมสำหรับนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งกันมีหลายหลักธรรม โดยหลักธรรมที่เหมาะสำหรับปลูกฝังแก่ผู้กลั่นแกล้ง คือ ‘เมตตา’ และ ‘สัมมาวาจา’ หลักธรรมที่เหมาะสำหรับปลูกฝังแก่ผู้ถูกกลั่นแกล้ง คือ ‘ขันติ’ และ ‘อภัยทาน’

References

การกลั่นแกล้ง (Bullying) ความรุนแรงในสังคม. (2562). สืบค้นจาก https://www.yuvabadhanafoundation.org/th/

ไทยอันดับ 2 “เด็กรังแกกันในโรงเรียน” พบเหยื่อปีละ 6 แสนคน. (2561). สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_819657

พระพรหมคุณาภรณ์ [ป.อ.ปยุต̣โต]. (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุต̣โต).

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-26

How to Cite

ปะวันนา ป. (2022). The หลักพุทธธรรมเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งกัน: หลักพุทธธรรมเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งกัน. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 11(1), 250–270. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/255623