การตระหนักรู้คุณค่าของชีวิตในโลกหลังความตายของตัวละครเอกชายในนวนิยายเรื่องขอเพียงอีกวัน (For One More Day)
การตระหนักรู้คุณค่าของชีวิตในโลกหลังความตายของตัวละครเอกชายในนวนิยายเรื่องขอเพียงอีกวัน (For One More Day)
คำสำคัญ:
สังคมอเมริกัน, ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อและลูกชาย, ความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกชาย, จิตวิญญาณบทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษานวนิยายเรื่อง ขอเพียงอีกวัน (For One More Day, 2006) ประพันธ์โดย มิตช์ อัลบอม ในแง่มุมของการวิเคราะห์ปัญหาทางจิตใจของตัวละครเอกชาย อันเนื่องมาจากสังคมแบบปิตาธิปไตยที่ส่งผ่านความสำเร็จแบบชายผ่านสถาบันครอบครัว จนเกิดการหาทางออกในแนวทางจิตวิญญาณที่เน้นคุณค่าของผู้หญิงในด้านความอ่อนโยน ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นว่ามีส่วนช่วยคลี่คลายการอยากทำอัตวินิบาตกรรมของตัวละครเอกชายได้ ในตัวบทนำเสนอว่าอำนาจปิตาธิปไตยถูกส่งผ่านพ่อ โดยพ่อที่ยึดติดกับความสำเร็จทางวัตถุส่งผลให้ลูกมีปัญหาทางด้านจิตใจเมื่อไม่สามารถรักษาความสำเร็จและชื่อเสียงไว้ได้ จนต้องทำอัตวินิบาตกรรม ผู้ประพันธ์จึงนำเสนอให้ตัวละครเอกเดินทางผ่านประสบการณ์เฉียดตาย ในพื้นที่แห่งนี้นำเสนอข้อจำกัดของการมองโลกที่ให้คุณค่ากับวัตถุ ทรัพย์สินภายนอก และนำเสนอทางออกด้วยการปรับเปลี่ยนมุมมองการใช้ชีวิต ให้ตัวละครเอกได้ทบทวนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและเห็นคุณค่าของชีวิตในด้านการหาความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตในแนวทางจิตวิญญาณ เมื่อผ่านประสบการณ์เฉียดตายและกลับมาสู่โลกความจริงตัวละครเอกจึงสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ เปลี่ยนใจไม่ทำอัตวินิบาตกรรม
References
กัญญ์ณพัชญ์ พรรณรัตน์. (2559). ความเป็นชายในนวนิยายของ นิโคลัส สปาร์กส์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
กุลวดี มกราภิรมย์. (2547). สารานุกรมประวัติศาสตร์สากล : อเมริกา เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
ชูศักดิ์ ภัทรกรณ์วาณิชย์. (2546). เชิงอรรถวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิภาษา.
ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2555). ปิตาธิปไตย : ภาพสะท้อนแห่งความไม่เสมอภาคระหว่างชายและหญิงในสังคมเอเชีย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4(2), 30-46.
ไทวิกา อิงสันเทียะ. (2555). บริโภคนิยม และวิกฤติความเป็นชายในนวนิยายอเมริกันร่วมสมัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ทัศนีย์ ทานตวาณิช ,นัทธนัย ประสานนาม และ สรยา รอดเพชร. (2561). ผู้หญิงกับปิตาธิปไตยในนวนิยายของอุทิศ เหมะมูล. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 14(2), 54-79.
ฟอร์แลก และไนล์. (2540). สังคมอเมริกันร่วมสมัย (พิมพ์ครั้งที่ 1) [พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ และ ปราณี ธนะชานันท์ ผู้แปล]. กรุงเทพฯ: หจก.บรรณกิจเทรดดิ้ง.
มิตช์ อัลบอม. (2551). ขอเพียงอีกวัน (อิทธิพน เรืองศรี, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดีเอ็นจี.
ศิวรัฐ หาญพานิช. (2559). ความเป็นชายที่มีอำนาจนำและความสัมพันธ์ทางเพศสถานะในโฆษณารถที่อกอากาศทางโทรทัศน์ พ.ศ. 2558-2559 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุคนธา สมใจ. (2550). ภาพสะท้อนด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ในยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) จากวรรณกรรมเรื่อง Of Mice and Men ของ จอห์น สไตน์เบ็ก. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 26(2), 157-171.
อุสุมา สุขสวัสดิ์. (2555). การตามหาสัจธรรมในโลกหลังสมัยใหม่. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 13(2), 43-48.
Albom, M. (2006). For One More Day. London: Sphere.
Baseballhall (n.d.). (2022, January 24). Baseball History, American History and You
Retrieved from https://baseballhall.org/baseball-history-american-history-and-you
Drew, C. (2019). What Is Liminal Space? –4 Key Features Of Liminality. Retrieved from https://helpfulprofessor.com/liminal-space/
Foot. D. (n.d.) “Man’s game: Challenging masculine myths in sport and life” [Online]. Available from https://baseballhall.org/baseball-history-american-history-
Jackson, R. (2009). Fantasy the Literature of Subversion. Routhledge.
Shields, L.B.E., Hunsaker, D.M., & Hunsaker, J.C. (2005) Trends of Suicide in the United States During the 20th Century. In: Tsokos M. (eds) Forensic Pathology Reviews. Forensic Pathology Reviews, vol 3. Humana Press. https://doi.org/10.1007/978-1-59259-910-3_10
Taylor. S. (2015). The Possibility of an Afterlife Is it irrational to be open to the possibility of life after death?. Retrieved from https://www.psychologytoday.com/intl/blog/out-the-darkness/201501/the-possibility-afterlife-1
Zylfo, B. & Lleshi, B. (2017). Theoretical & Practical Part of Rosemary Jackson’s Fantasy as an Independent Literary Genre. Interdisciplinary Journal of Research and Development, 4(3), 30-36. Retrieved from https://www.uamd.edu.al/new/wp-content/uploads/2017/12/MA.-MSc.-Blerina-ZYLFO-LLESHI.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.