การศึกษากลวิธีการเรียนรู้ทักษะการพูดภาษาเยอรมันของผู้หญิงไทยที่แต่งงาน และใช้ชีวิตอยู่ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ; Study of Learning Strategies for German Speaking Skills of Thai Women Who Are Married and Live in Germany

Authors

  • เจนจิรา เซ่งฮวด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สุภาภรณ์ สุวรรณโอภาส คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

การเรียนรู้ภาษา, กลวิธีการเรียนรู้ภาษา, ทักษะการพูดภาษาเยอรมัน, Language Learning, Language Strategies, German Speaking Skills

Abstract

บทคัดย่อ

                งานวิจัยหัวข้อ “การศึกษากลวิธีการเรียนรู้ทักษะการพูดของผู้หญิงไทยที่แต่งงานและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี” เป็นวิจัยเชิงปริมาณสาขาภาษาเยอรมัน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเห็นทั่วไปเกี่ยวกับภาษาเยอรมันโดยใช้กรอบแนวคิดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของ Oxford (1990) และเพื่อศึกษาความถี่ในการใช้กลวิธีการเรียนรู้ทักษะการพูดภาษาเยอรมัน  กลุ่มตัวอย่างคือผู้หญิงไทยอายุตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป จำนวน 29 คน และได้แต่งงานกับคนเยอรมันโดยอาศัยอยู่ในเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีการเก็บข้อมูลจากการแบบสอบถามออนไลน์  ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชอบเรียนรู้ทักษะการพูดมากที่สุดและเห็นว่าทักษะการพูดมีความสำคัญและใช้เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันมากกว่าทักษะอื่นๆ นอกจากนี้ยังเห็นว่า สภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการใช้ทักษะการพูดภาษาเยอรมัน ในขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าไวยากรณ์ภาษาเยอรมันเรียนรู้ยากที่สุด 2) ตามแนวคิดกลวิธีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของ Oxford (1990)  กลุ่มตัวอย่างใช้กลวิธีการเรียนรู้แบบการเสริมและทดแทนมากที่สุด เนื่องจากเป็นกลวิธีที่ง่ายที่สุดในการใช้ข้อมูลความรู้ทางภาษาทีมีจำกัด และใช้กลวิธีเชิงอภิปัญญาน้อยที่สุด เนื่องจากเป็นกลวิธีที่มีขั้นตอนและมีระบบมีกระบวนการที่ประกอบด้วย การวางแผน (planning) การตรวจสอบ (monitoring) และการประเมิน (evaluating)  ผู้ที่เรียนรู้ทักษะการพูดภาษาเยอรมันที่เน้นเฉพาะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันอาจจะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องใช้กลวิธีนี้ในการเรียนรู้

 

Abstract

                This research was based on quantitative research in German language learning.   This quantitative research investigated learning strategies for German speaking skills of Thai women who are married and live in Germany. The objectives were to study opinions of these Thai women about German on the basis of Oxford’s (1990) framework (SILL) and to study the frequency  of  the use of  learning strategies for German speaking skills . The participants were 29 Thai women, aged over 25 years old who are married and live in Germany.  They were selected using purposive sampling technique. The research instrument was online questionnaires. The results of their opinions showed that the majority of them liked to learn about German speaking skills, and speaking skills are more important for everyday conversation than other skills. Furthermore, the surrounding environment in Germany has an influence on their development of speaking skills. The participants appeared to use compensation strategies most frequently because these strategies were the easiest to access when they had limited language resources. On the other hand, metacognitive strategies comprising planning, monitoring and evaluating processes were the least used since the learners probably considered these inessential in everyday conversation.

References

ธีราภรณ์ พลายเล็ก. (2555). รายงานการวิจัยการศึกษาลักษณะการเรียนรู้และกลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

พัทยา เรือนแก้ว. บก. (2555). หญิงไทยและชุมชนไทย วันนี้ ในเยอรมนี . บีเล่อะเฟลด์: เครือข่ายคนไทยใน

ต่างแดน เยอรมนี.

วรมน สินสุวรรณ. (2561). การย้านถิ่นฐานผ่านการสมรสกับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารของคนไทยย้ายถิ่น

“รุ่นใหม่” ในเยอรมนี. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 37 (1), 73-94.

ศิวนนท์ นิลพาณิชย์. (20 พฤษจิกายน 2561 ). กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่1. ค้นจาก http://acad.vru.ac.th/Journal/journal%207_2/7_2_1.pdf.

สมพร โกมารทัต. (2559). รายงานการวิจัยการศึกษาการใช้กลยุทธิ์การเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพฯและปริมณฑล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Oxford, R. L. (1990). Languge Learning Strategies. New York:

Newbury House Publischers.

Schatz. H. (2006). Fertigkeit Sprechen. Fernstudieneinheit 20. München:

Langenscheidt.

Statistisches Bundesamt. (2019, December 23 ). Bevölkerung und Erwerbstätigkeit. Retrieved from https://www.destatis.de/DE/Themen/Gesellschaft- Umwelt/Bevoelkerung/Migration-Integration/Publikationen/Downloads- Migration/auslaend-bevoelkerung-2010200187004.pdf?__blob=publicationFile. 31

Downloads

Published

2020-06-25

How to Cite

เซ่งฮวด เ., & สุวรรณโอภาส ส. (2020). การศึกษากลวิธีการเรียนรู้ทักษะการพูดภาษาเยอรมันของผู้หญิงไทยที่แต่งงาน และใช้ชีวิตอยู่ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ; Study of Learning Strategies for German Speaking Skills of Thai Women Who Are Married and Live in Germany. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 9(1), 76–102. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/242553

Issue

Section

บทความวิจัย