พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อจังหวัดท่องเที่ยวรองในภาคตะวันออก ภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อจังหวัดท่องเที่ยวรอง
ในภาคตะวันออกภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 2) ศึกษาองค์ประกอบด้านการตลาด
การท่องเที่ยวจังหวัดท่องเที่ยวรองในภาคตะวันออก และ 3) วิเคราะห์ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อจังหวัดท่องเที่ยวรองในภาคตะวันออกภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวสัญชาติไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี ตราด และปราจีนบุรี จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทาง
โดยรถยนต์ส่วนตัวเพื่อมาพักผ่อนกับครอบครัวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 8,872.41 บาท/ครั้ง ค่าใช้จ่ายที่พักเฉลี่ย 1,472.71 บาท/คืน วางแผนล่วงหน้าเฉลี่ย 13.71 วัน 2) องค์ประกอบของตลาด
การท่องเที่ยวจังหวัดท่องเที่ยวรองในภาคตะวันออก คือ ที่พักมีให้เลือกหลากหลาย ค่าใช้จ่ายเหมาะสม
การติดต่อ/จองที่พักมีความสะดวก ข้อมูล/รีวิวสถานที่ท่องเที่ยวในสื่อต่าง ๆ คนในท้องถิ่นมีอัธยาศัยดี/มีน้ำใจ ที่พักมีมาตรฐานให้บริการที่ดี อยู่ในระดับมาก และ 3) เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ และภูมิลำเนา ที่แตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดท่องเที่ยวรองในภาคตะวันออกออกภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิเคราะห์สามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างเหมาะสม รวมถึงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภายใต้ศักยภาพของจังหวัดและจัดรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวตามพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). สรุปแผนปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำปี 2562. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. https://api.tat.or.th/upload/annual_report/live/สรุปแผนปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำปี-2562.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา. (2567). การพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรอง. วิจัยปริทัศน์, 45, 1-12. https://prt.parliament.go.th/server/api/core/bitstreams/f05ef41b-a61d-4e9b-9a19-da7064bbda11/content
คณพศ ภูวบริรักษ์. (2564, 15 กรกฎาคม). ความพร้อมด้านบริการเพื่อการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่นของเมืองรอง. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). https://researchcafe.tsri.or.th/travel/
ชลพลกฤต รัตน์นราทร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเมืองรอง. [สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/706/1/gs581110063.pdf
ชัญญา พิริยวานิช และรวิภา ธรรมโชติ (2565). องค์ประกอบความสำเร็จของการท่องเที่ยวเมืองรอง. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, 6(2), 68-79. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/261051/175153
ชิดชม กันจุฬา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาจังหวัดอ่างทอง. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(2), 64-80. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/254930
ฑิฆัมพร ออรุ่งวิไล (2562). กระบวนการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-7/6114152034.pdf
ณัฐอร เบญจปฐมรงค์ และชุติกา เกียรติเรืองไกร. (2566). การเปลี่ยนแปลงภาคการท่องเที่ยวไทย กับก้าวต่อไปหลังเปิดประเทศ. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/bot-magazine/Phrasiam-65-3/the-knowledge-65-3-3.html
บริษัท อินโฟเสริร์ช. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวชาวไทย. https://intelligencecenter.tat.or.th/articles/37993
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496. (2562, 15 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 65 ก. หน้า 1-3.
พิมพวรรณ สุ่มขำ. (2566). ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเมืองรอง จังหวัดน่าน. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5502
รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว (TOURIST BEHAVIOR). Odeon Store.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564, 14 กุมภาพันธ์). วิเคราะห์ผลกระทบของของโควิด-19 ต่อธุรกิจท่องเที่ยว. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. https://tdri.or.th/2021/02/covid-112/
สิปปวิชญ์ วงศ์สุวัฒน์, วิภาดา เถาธรรมพิทักษ์ และศิริกัญญา ทองเส้ง. (2567). อิทธิพลของความเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีต่อความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยวของประชาชนในจังหวัดตรัง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 40(1), 134-159. https://eds.trang.psu.ac.th/mis/expert_system/file/20230927-151721.pdf
สุวิทย์ พิศแลงาม. (2566). ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษา: จังหวัดนครศรีธรรมราช. [การจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ]. สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์. https://repository.nida.ac.th/items/a5237df7-e6ee-4d8c-8b60-b898a187bd0e
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดราชบุรี. (2566, 7 มกราคม). รัฐบาลกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ด้วยการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดราชบุรี. https://ratchaburi.prd.go.th/th/content/category/detail/id/ 33/iid/148950
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย พ.ศ. 2560 (ในรอบปี 2559). สำนักงานสถิติแห่งชาติ. https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2023/20230430135128_75048.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ เป็นรายจังหวัด พ.ศ. 2554 - 2565. https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/statistics_and_indicators?impt_branch=320
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.). (2563). COVID-19 ต่อภาคการท่องเที่ยวไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ปัญหา. Policy Brief Tourism, 1(1), 1-12. https://www.mots.go.th/download/BannerLink/PBVol01Covid_DigitalEd.pdf
Bennett, J. A. & Strydom, J.W. (2001). Introduction to travel and tourism marketing. Juta Education.
Clawson, M. & Knetsch, J. L. (1966). Economics of Outdoor Recreation. Johns Hopkins Press.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons.
Cooper, C., & Boniface, B. G. (1998). Geography of Travel and Tourism. Routledge.
Kotler, Philip. (2000). Marketing Management (The Millennium edition). Upper Saddle River, New Jersey: PersonPrentiec Hall.
Likert, R. (1961). New Pattern of Management. McGraw-Hill.
Pearce, D. (1989). Tourist Development (2nd ed). Longman Scientific & Technical.
Ruiqiu, P. (2020). An Analysis of the Deciding Factors for Chinese Tourists to Travel to Secondary Cities in Thailand: A Case Study in Chiangrai. [Hospitality and Tourism Industry Management]. Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/4774/3/peng_ruiq.pdf
Serirat, S. (1995). Consumer behavior. Dharmasarn printing Company Limited.
Wainer, H., & Braun, H. I. (1988). Test Validity (1st ed). Routledge.