ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยความรู้ความเข้าใจในการทำบัญชีภาครัฐที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน และ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจในองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน ซึ่งทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจในงานอยู่ในระดับมาก ปัจจัยจูงใจในองค์กรอยู่ในระดับที่มากที่สุด และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและการเงินอยู่ในระดับที่มาก ในการศึกษาความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยความรู้ความเข้าใจทั้งในการทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีภาครับด้านการบัญชี กับด้านจัดทำรายงานทางการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงินมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี และพบความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างปัจจัยจูงใจด้านสภาพการทำงาน และ ด้านผลตอบแทนและสวัสดิการกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นองค์กรจึงควรให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้ความเข้าใจในงานและการสร้างแรงจูงใจในงานซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลภู สันทะจักร์ และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2562). ปัจจัยของนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 17(1), 17-31. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HatyaiAcademicJournal/ article/view/154179
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร (พิมพ์ครั้งที่ 2). ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กุลฑีรา จันทนา, อังคณา ลีรัตนานุกูลศิริ, ธีรดา บุญพามี และรัฐิยา ส่งสุข. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลจากพลวัตเทคโนโลยียุคดิจิทัล ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ และการจัดทำรายงานทางการเงินของบุคลากร ในสำนักงานบัญชีคุณภาพ เขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(10), 355-370. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/252535
ฐิตพล น้อยจาด. (2566). ตัวแบบการนำทฤษฎีนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ. วารสารดิจิทัล ธุรกิจและสังคมศาสตร์, 9(1), 1-15. https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/ jdbs/article/view/2878
ธัญญา คหาปนะ และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2565). จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพของรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเขตภาคใต้. Journal of Modern Learning Development, 7(9), 263-276. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/257183
ประสงค์ เกรียงไกรกุล และวรัญพงศ์ บุญศิริธรรมชัย. (2565). การศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 กรณีศึกษา บริษัท ไดซิน จำกัด. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 17(2), 73-87. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/257415
พิชชาพร ธรรมรัตน์, สุวิมล ติรกานันท์, และ กมลทิพย์ ศรีหาเศษ. (2564). การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะนักวิชาชีพบัญชียุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี. วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา, 38(103), 14-23.
รัชดาภรณ์ เสมาขันธ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการประยุกต์ใช้มาตรฐานการรายงานการเงินและลักษณะคุณภาพกำไร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(92), 21-36. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/244356
วันวิสาข์ นาถนิติวิทยา และวรวิทย์ จินดาพล. (2566). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่กับประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(3), 91-102. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/259204
วีระโชติ ชุณหรุ่งโรจน์, ยุวัฒน์ วุฒิเมธี และวัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2561). ตัวแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 7(พิเศษ), 45-56. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/131685
ศิรบูรณ์ แก้วสมนึก และพรทิวา แสงเขียว. (2566). สมรรถนะของนักบัญชี แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 13(4), 1148-1160. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/268701
ศิริวรรณ พลแก้ว. (2566). ผลกระทบของความรู้ด้านบัญชีภาครัฐที่ดีที่มีต่อประสิทธิภาพ การจัดทำรายงานการเงินของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการบัญชีและการจัดการ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(1), 217-231. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/250275
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). คู่มืออธิบายมาตรฐานการบัญชี (ฉบับที่ 1). สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ. http://www.tfac.or.th/upload/9414/ s7nQJz3U1L.pdf?fbclid=IwAR0yEMx7aVcRibgpD8MJkmQQeDZkTOBa3ka6KXJCWof0L3oiUCi101BLkC8)
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564). สภาวิชาชีพบัญชี: มาตรฐาน. https://acpro-std.tfac.or.th/page/6/
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2564). Annual report 2021. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. https://www.audit.go.th/th/sai/term/285
สุกัญญา ศรีกุลบุตร. (2553). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่งานห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 6(4), 33-39. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/254221
อัครเดช ไม้จันทร์ และนุจรีย์ แซ่จิว. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 95-122. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/srj/ article/view/124508
Abdulkhamidova, F. (2021). Herzberg’s Two-Factor Theory.
Bujang, M. A., Omar, E. D., & Baharum, N. A. (2018). A Review on Sample Size Determination for Cronbach’s Alpha Test: A Simple Guide for Researchers. The Malaysian Journal of Medical Sciences: MJMS, 25(6), 85–99. https://doi.org/10.21315/mjms2018.25.6.9
Diamantidis, A., & Chatzoglou, P. (2018). Factors affecting employee performance: An empirical approach. International Journal of Productivity and Performance Management, 68. https://doi.org/10.1108/IJPPM-01-2018-0012
Hair, J. F., L.D.S. Gabriel, M., da Silva, D., & Braga Junior, S. (2019). Development and validation of attitudes measurement scales: Fundamental and practical aspects. RAUSP Management Journal, 54(4), 490–507. https://doi.org/10.1108/RAUSP-05-2019-0098
Hanna, K. T., & Gillis, A. S. (2024). What is operational efficiency? Business Analytics. https://www.techtarget.com/searchbusinessanalytics/definition/operational-efficiency
Huemer, M. (2022). Understanding Knowledge. Independently published.
International Federation of Accountants. (2021). The Main Challenges of Public Sector Accounting Reforms and World Bank’s Public Sector Accounting and Reporting (PULSAR) Program. https://www.ifac.org/knowledge-gateway/discussion/main-challenges-public-sector-accounting-reforms-and-world-bank-s-public-sector-accounting-and
IPSASB. (2022). 2022 Handbook of International Public Sector Accounting Pronouncements. https://www.ipsasb.org/publications/2022-handbook-international-public-sector-accounting-pronouncements
Krejcie, R., & Morgan, D. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement - EDUC PSYCHOL MEAS, 30, 607–610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308
Nugraheni, N., Prasetiyo, Y., Siregar, S. Z., and Riyani, E. (2023). Government Financial Performance Analysis. International Journal of Business and Applied Economics, 2, 163–176. https://doi.org/10.55927/ijbae.v2i2.3310
Sooriyamudali, P., & Dilshani, N. (2020). Factors Affecting on Operational Efficiency.
Van Der Kolk, B. (2022). Performance Measurement in the Public Sector: Mapping 20 Years of Survey Research. Financial Accountability & Management, 38. https://doi.org/10.1111/faam.12345