การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน

Main Article Content

ณัฐสิทธิ์ เมืองซอง
ดนิตา ดวงวิไล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยนักเรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 2) พัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยนักเรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนร่มเกล้า ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้    แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบวัดทักษะในการแก้ปัญหาท้ายวงจร แบบวัดทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ท้ายวงจร แบบวัดทักษะในการแก้ปัญหา และแบบวัดทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูล   เชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 83.33 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 85.69 ขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 83.33 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 84.72 ขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Article Details

How to Cite
เมืองซอง ณ., & ดวงวิไล ด. . (2024). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน . วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 6(3), 772–786. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/278606
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2566). ระบบประกาศและรายงานผลสอบ โอเน็ต. สืบค้น 9 สิงหาคม 2566. จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx.

จงกล วจนะเสถียร. (2559). การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบซินเนคติกส์. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดนิตา ดวงวิไล. (2565). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูภาษาไทย. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2564). ศาสตร์และศิลป์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัจฉรา ชีวพันธ์. (2547). กิจกรรมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ในชั้นประถมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Charles, R., Lester, F., & O’Daffer, P. (1987). How to evaluate progress: in problem solving. New York: The National Council of Teachers of Mathematics.

Dewey, J. (1963). Experience and Education. New York: Macmillan Publishing Company.

Gerstein, J. (2011). The Flipped Classroom Model: A Full Picture. Retrieved September 12, 2016, from https://usergeneratededucation. wordpress.com/2011/06/13/the-flipped-classroom-model-a-full-picture/.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1992). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong:

Deakin University Press.