การพัฒนาความสามารถการรู้เรื่องการอ่านวรรณคดีไทยและการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถการรู้เรื่องอ่านวรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยนักเรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป และ 2) พัฒนาความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ นักเรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนขามแก่นนคร ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แบบประเมินความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ แบบทดสอบวัดความสามารถการรู้เรื่องการอ่านวรรณคดีไทยท้ายวงจรปฏิบัติการ แบบประเมินความสามารถการรู้เรื่องการอ่านวรรณดีไทย และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ท้ายวงจรปฏิบัติการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ % และ 2) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถด้านการเรื่องอ่านรู้วรรณคดีไทยคิดเป็นร้อยละ 82.43 และนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 83.87 ขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์คิดเป็นร้อยละ 90.32 และนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 84.62 ขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิ่งฟ้า สินธุวงษ์. (2550). การสอนเพื่อพัฒนาการคิดและการเรียนรู้. ขอนแก่น: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุษบา บัวสมบูรณ์, พิณพนธ์ คงวิจิตต์ และกิตติพงษ์ แบสิ่ว. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีโดยบูรณาการศิลปะเมื่อการศึกษาวรรณคดีส่องสว่างต่องานศิลปะ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 53-67.
ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์ และวิภาวรรณ เอกวรรณัง. (2563). การพัฒนาความสามารถในการรู้เรื่องการอ่านตามแนวทางการสอบแบบ PISA โดยใช้แนวคิดการอ่านจากต้นแบบของนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(1), 85-98.
มงคล เรียงณรงค์ และลัดดา ศิลาน้อย. (2558). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชา ส21103 สังคมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 141-148.
รัตภรณ์ อุทุมพร และวณิชชา สิทธิพล. (2566). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่มีต่อการส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 2(1), 21-30.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based (CBL). วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 23-37.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2565). ผลการประเมิน PISA 2022. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี.
สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2563). ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กไทยที่หายไป. สืบค้น 3 เมษายน 2567. จาก https://www.thaipbskids.com/contents/5f6188f917d8e5bbee2401a1.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุพัตรา บุญทิสา และมนตรี วงษ์สะพาน. (2566) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์เรื่องเศรษฐศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 6(17), 43-54.
Guilford, J. P. (1950). Creativity. American Psychologist, 5(9), 444–454.
Kemmis, & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong: Deakin University Press.