เส้นทางการศึกษาหลังโควิด-19 : การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างชั้นเรียนแบบดั้งเดิมและออนไลน์สำหรับนิสิตคณะอุตสาหกรรมบริการ

Main Article Content

อิสระพงษ์ พลธานี
อริยา พงษ์พานิช
บริสุทธิ์ แสนคำ
เชิญขวัญ ขำเปรม
กฤษณ์ เลี้ยงพันธุ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมรวมถึงผลกระทบของโรคระบาดต่อการเรียนของนิสิตคณะอุตสาหกรรมบริการภายหลังการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างพฤติกรรมการเรียนในชั้นเรียนปกติกับการเรียนนอกชั้นเรียนออนไลน์ โดยเป็น          การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือนิสิตคณะอุตสาหกรรมบริการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 462 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA : Analysis of Covariance)


          ผลการวิจัยจากการศึกษาข้อมูลพฤติกรรมของการเรียนของนิสิตคณะอุตสาหกรรมบริการ พบว่า อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.98)  และผลกระทบของโรคระบาด COVID-19 ที่ส่งผลต่อการเรียนของนิสิต พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.01) และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างพฤติกรรมการเรียนในชั้นเรียนปกติกับการเรียนนอกชั้นเรียนออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่านิสิตมีความกระตือรือร้นในการเรียนและมีพฤติกรรมการเรียนที่ดี รวมทั้งการมีพฤติกรรมการเรียนทั้งสองลักษณะนั้นมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตแตกต่างกัน ซึ่งจากผลการศึกษาจะเป็นการช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมและผลกระทบของการเรียนในช่วงโควิด-19 ต่อนิสิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

Article Details

How to Cite
พลธานี อ. ., พงษ์พานิช อ. ., แสนคำ บ. ., ขำเปรม เ. ., & เลี้ยงพันธุ์ ก. . (2024). เส้นทางการศึกษาหลังโควิด-19 : การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างชั้นเรียนแบบดั้งเดิมและออนไลน์สำหรับนิสิตคณะอุตสาหกรรมบริการ. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 6(2), 473–487. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/274973
บท
บทความวิจัย

References

อรพินท์ ชูชม, ไตรรงค์ ฉายะจินดาวงศ์, & กัญญาภัค เงาศิริฤทธิ์กุล. (2563). พฤติกรรมและเจตคติต่อ การเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยตะวันออก, 11(2), 326-334.

Ali, W. (2020). Online and remote learning in higher education institutes: A necessity in light of COVID-19 pandemic. Higher Education Studies, 10(3), 16-25.

Brown, T., & Smith, S. (2021). Supporting mental health and well-being for students during the COVID-19 pandemic. Education and Health Journal.

Cao, W., Fang, Z., Hou, G., Han, M., Xu, X., Dong, J., & Zheng, J. (2020). The psychological impact of the COVID-19 epidemic on college students in China. Psychiatry Research, 287, Article 112934.

Dhawan, S. (2020). Online learning: A panacea in the time of COVID-19 crisis. Journal of Educational Technology Systems, 49(1), 5-22.

Department of Mental Health, Thailand. (2020). The psychological impact of COVID-19 on students in higher education.

Dhawan, S. (2020). Online learning: A panacea in the time of COVID-19 crisis. Journal of Educational Technology Systems, 49(1), 5-22.

Jenasantikul, N. (2021). Online classroom management in response to the transition from face-to-face classes due to the COVID-19 epidemic. Veridian E-Journal, 14(1), 1-13.

Johnson, N. (2021). Adapting higher education during a pandemic: A case study of Thai universities.

Lee, A. (2020). Innovative education in a time of crisis: A rapid response to the COVID-19 pandemic. Journal of Innovation in Education.

Ministry of Public Health, Thailand. (2020). COVID-19 outbreak and its impact on Thai education system.

Mukhtar, K., Javed, K., Arooj, M., & Sethi, A. (2020). Advantages, limitations and recommendations for online learning during COVID-19 pandemic era. Pakistan Journal of Medical Sciences, 36(COVID19-S4), S27-S31.

Smith, J., & Denson, L. (2020). Social and psychological impacts of COVID-19 on higher education students. Journal of Social Sciences.

Sunshine, et al. (2021). Factors affecting students' academic performance: A case study of Sohar University. Psychology and Education, 58(5), 4624-4635.

Toquero, C. M. (2020). Challenges and opportunities for higher education amid the COVID-19 pandemic: The Philippine context. Pedagogical Research, 5(4), Article em0063. https://doi.org/10.29333/pr/7947 Retrieved May 13, 2023.

UNESCO. (2020). COVID-19 impact on education. Retrieved May 13, 2023, from https://en.unesco.org/covid19/educationresponse.

UNESCO. (2020). COVID-19 educational disruption and response.

World Health Organization. (2020). COVID-19 Public Health Emergency of International Concern (PHEIC) Global research and innovation forum.

Xie, Y., & Hu, J. (2020). Factors affecting academic performance of college students in China during COVID-19 pandemic: A cross-sectional analysis. Frontiers in Education.

Yigermal, M.E. (2020). Determinants of good academic performance among university students in Ethiopia: A cross-sectional study. BMC Medical Education.