ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรทางการแพทย์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

Main Article Content

สุปราณี ศรีนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นต่อการรับรู้เกี่ยวกับโรค และพฤติกรรมการป้องกันโรค และ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรทางการแพทย์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มอย่างง่าย จำนวน 258 คน เครื่องมือคือแบบสอบถามที่สร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ


          ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นต่อการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ในระดับมาก  ( = 3.95, S.D. = 0.523)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการรับรู้ความรุนแรง มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง ด้านการรับรู้ประโยชน์ และลำดับสุดท้ายคือด้านการรับรู้อุปสรรค มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.94, S.D. = 0.67) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรทางการแพทย์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม พบว่า ปัจจัยการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

How to Cite
ศรีนา ส. . (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรทางการแพทย์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 6(2), 358–372. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/273707
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้น 1 กันยายน 2564. จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt _110864.pdf.

กรมควบคุมโรค. (2566). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. สืบค้น 1 มีนาคม2566. จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.

คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล และ สุวรรณา ปัตตะพัฒน์ อภิวดี อินทเจริญ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 19-30.

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. (2566). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโค โรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. สืบค้น 1 มีนาคม 2566. จาก https://n9.cl/573tz.

จันทรเบ็ญจกุล วรรษมน. (2563). การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). เอกสาร ประกอบการบรรยายเวทีจุฬาเสวนาครั้งที่ 23 เรื่อง ตระหนักดีกว่าตระหนก เรียนรู้และป้องกันโคโรนาไวรัส 2019. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPS. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. (2566). เข้าถึงได้จาก แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model). สืบค้น 1 มีนาคม 2566. จาก https://www.gotoknow.org/posts/115420.

ภัคณัฐ วีรขจร. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(3), 106.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. (2566). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. นครพนม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม.

สุชาติ ประคีตะวาทิน. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. กระบี่เวชสาร, 5(2), 49-61.

สุภาภรณ์ วงธิ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Adhikari et al. (2020). Epidemiology, causes, clinical manifestation and diagnosis, prevention and control of coronavirus disease (covid-19) during the early outbreak period: A scoping review. Reviewed March 1, 2023. From https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7079521/.

Becker, M.H. and Maiman L.A. (1974). The Health Belief: Origins and Corrdlates in Psychological Theory, Health Education Mono graphs. 2, 300-385.

Becker, M.H. and Maiman L.A. (1975). The Health Belief Model and and Sick Role Behavior, In the Health Belief Model and Personal Health Behavior. New Jersey: ChalesB.Slack.

Becker; & et al. (1975). Sociobehavioral Determination of Compliance with Health and Medical Care Recommendation. Medical Care. 13(3), 13-24.

M. H Becker. (1974). The health belief model and personal health behavior. Monographs Health Education, 2, 324-473.

aakkari, L., & Okan, O. (2020). Covid-19: Health literacy is an underestimated problem. The Lancet Public Health, 5(5), e249-e250.

S. V., & Cobb, S. Kasl. (1966). Health behavior, illness behavior and sick role behavior: I.Health and illness behavior. Archives of Environmental Health: An Inter national Journal, 12(2), 246-266.

World Health Organization. (2020). Coronavirus disease (COVID-19) pandemic. Reviewed October 2, 2020. From https://www. who. int/ emergencies /diseases/novel coronavirus-2019.