การยกร่างหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

เกษชุดา เพียรนุเคราะห์ชน
รุ่งทิวา แย้มรุ่ง

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และยกร่างหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566  จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และแบบประเมินความสอดคล้องขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนที่ 2 แบบวัดความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนที่ 3 ร่างหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  และส่วนที่ 4 แบบประเมินความเหมาะสม และความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ของร่างหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค ผลการศึกษา พบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก 11 องค์ประกอบย่อย และ 27 ตัวบ่งชี้ และร่างหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะสมของแต่ละองค์ประกอบในหลักสูตรในเกณฑ์เหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.52 และองค์ประกอบในร่างหลักสูตรมีความสอดคล้อง โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 0.99

Article Details

How to Cite
เพียรนุเคราะห์ชน เ. ., & แย้มรุ่ง ร. . (2023). การยกร่างหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 5(3), 590–606. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/271540
บท
บทความวิจัย

References

ชรินรัตน์ ด้วงธรรม และ วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์. (2565). การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(11), 372-389.

ทีฆทัศน์ ญาณะทวี, จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม และวนินทร สุภาพ. (2564). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว Model-Eliciting Activities ที่มีต่อการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต. 15(1), 103-117.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.

มะลิวรรณ งามยิ่ง. (2563). การพัฒนาหลักสูตรความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา (ปริญญานิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2564). โครงการการพัฒนาระบบสถิติข้อมูลและตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินตามยุทธศาสตร์ชาติ. รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). PISA 2021 กับการประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์. สืบค้น 11 มีนาคม 2565. จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2020-53/.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2563). การพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุนีย์ คล้ายนิล. (2558). การศึกษาคณิตศาสตร์ในระดับโรงเรียนไทย การพัฒนา-ผลกระทบ-ภาวะถดถอยในปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซสพับลิเคชั่น.

อภิชญาดา บุญวิรัตน์ และ ปริญญภาษ สีทอง. (2565). การพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดกระบวนการแก้ปัญหาแดปิค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 8(2), 465-480.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2551). ข้อคิดเรื่องหลักสูตร: คู่มือนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

Eisner, E.W. (2017). The Enlightened Eye: Qualitative Inquiry and the Enhancement of Educational Practice. New York: Teachers College Press.

Firdaus, M. F., Wahyudin, W. & Tatang, H. (2017). Improving primary students’ mathematical literacy through problem based learning and direct instruction. Academic Journals Educational Research and Reviews. 12(4), 212-219.

Hafizh N. & Bambang A. P. (2017). Improving ability mathematic literacy, self-efficacy and reducing mathematical anxiety with learning Treffinger model at senior high school students. International Conference on Science and Applied Science. 2(1), 130-138.

Rizki, L. M. & Priatna, N. (2018). Mathematical literacy as the 21st century skill. Journal of Physics Conference Series. 1157(4), 1-5.

Tyler, R. W. (1964). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago Press.