อิทธิพลของประเภทอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนกับผลการดำเนินงาน: หลักฐานเชิงประจักษ์ จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน กับผลการดำเนินงานของบริษัททั้งผลการดำเนินงานทางการบัญชีและทางตลาด รวมถึงศึกษาอิทธิพลของประเภทอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนกับผลการดำเนินงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่มีกลุ่มตัวอย่าง คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปี 2563 และ 2564 จำนวน 915 ข้อมูล โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานความยั่งยืน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1 One Report) และรายงานทางการเงิน ทั้งงบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุน มีเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ เกณฑ์การให้คะแนนการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนตามกรอบ GRI Standards 2020 มีจำนวน 37 ตัวชี้วัดในระดับคะแนนเต็มเท่ากับ 63 คะแนน ซึ่งมีการกำหนดระดับคะแนนแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมในแต่ละตัวชี้วัด โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น
ผลการวิจัย พบว่า 1) การเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงานของบริษัททั้งผลการดำเนินงานทางการบัญชีและทางตลาดที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 2) ประเภทอุตสาหกรรมมีผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนและผลการดำเนินงานทางตลาดที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 3) ประเภทอุตสาหกรรมไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนและผลการดำเนินงานทางการบัญชี ซึ่งประโยชน์ของงานวิจัยชิ้นนี้ คือ บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ผู้มีส่วนได้เสียใช้ข้อมูลส่วนนี้ในการตัดสินใจ และหน่วยงานกำกับดูแลสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน รวมถึงคำนึงถึงอิทธิพลของประเภทอุตสาหกรรมในการกำหนดกฎเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560ก). GRI STANDARDS: จากรายงานสู่การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน. สืบค้น 13 สิงหาคม 2565. จาก https://www.setsustainability.com/libraries/628/item/315-gri-standards.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560ข). Sustainability Disclosure: กระแสการลงทุนกับการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน. สืบค้น 12 สิงหาคม 2565. จาก
https://www.setsustainability.com/libraries/660/item/23-sustainability-disclosure.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). ตารางแสดงโครงสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ. สืบค้น 29 สิงหาคม 2565. จาก https://www.set.or.th/th/market/index/set/industry-sector-profile.
ธกานต์ ชาติวงศ์. (2560). ทฤษฎีที่ใช้อธิบายงานวิจัยทางบัญชี: จากอดีตถึงอนาคต. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 189-198.
นิตยา โยธาจันทร์, ศศิวิมล มีอำพล, และไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนกับผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่ม ESG100. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 13(2), 12-26.
พิศิษฐ์ อัศวบรรจงผล. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการรายงานความยั่งยืนกับอัตราส่วน Tobin’s Q ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มดัชนี SET 100 (ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภัณฑิรา มณีไพรัตน์. (2562). อิทธิพลระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลตอบแทนผู้ถือหุ้น: กรณีศึกษาบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับธุรกิจด้านการพัฒนาความยั่งยืน. (บัญชีมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มัทนชัย สุทธิพันธุ์, ศิริวรรณ ลีลาทิวานนท์, และจิตติมา วิเชียรรักษ์. (2566). ผลกระทบของการรายงานด้านสิ่งแวดล้อมต่อผลการดำเนินงานทางการเงิน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบสูงต่อสิ่งแวดล้อม. วารสารบริหารธุรกิจ, 46(178), 40-63.
วิชาวีร์ เจตะสานนท์. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับรางวัลความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมกับอัตราผลตอบแทนหุ้น กรณีศึกษา SET100 (ค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการเงิน). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Barnard, C. I. (1938). The Functions of the Executive. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Buallay, A., Hamdan, A., & Barone, E. (2020). Sustainability reporting and firm’s performance: Comparative study between manufacturing and banking sectors. International Journal of Productivity and Performance Management. 69(3), 431-445.
Freeman, R. E., Harrison, J. S., & Wicks, A. C. (2007). Managing for stakeholder: survival, reputation and success. New Haven, CT: Yale University Press.
Kline, R. B. (2016). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. (4th ed.). New York: The Guilford Press.
Lindblom, C. K. (1994). “Implications of Organizational Legitimacy for Corporate Social Performance and Disclosure”, Critical Perspectives on Accounting Conference, New York.
Qureshi, M. A., Kirkerud, S., Theresa, K., & Ahsan, T. (2020). The impact of sustainability (environmental, social, and governance) disclosure and board diversity on firm value: The moderating role of industry sensitivity. Business Strategy and the Environment, 29(3), 1199-1214.
Roberts, R. W. (1992). DETERMINANTS OF CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY DISCLOSURE: AN APPLICATION OF STAKEHOLDER THEORY, Accounting, Organizations and Society, 17(6), 595-612.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Spence, M. (1973). Job Market Signaling. The Quarterly Journal of Economics, 87(3), 355-374.
Suchman, M. C. (1995). Managing Legitimacy: Strategic and institutional approaches. Academy of Management Review, 20(3), 571-610.
Suttipun, M., & Stanton, P. (2012). Determinants of Environmental Disclosure in Thai Corporate Annual Reports. International Journal of Accounting and Financial Reporting, 2(1), 99-115.