การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทางการเรียนวรรณกรรมไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุมชนเป็นฐาน (CBL)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์ทางการเรียนวรรณกรรมไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุมชนเป็นฐาน (CBL) นักเรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ขึ้นไป และ 2) พัฒนาความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางการเรียนวรรณกรรมไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุมชนเป็นฐาน (CBL) นักเรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบาก 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 15 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุมชนเป็นฐาน (CBL) แบบทดสอบท้ายวงจร แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์และแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถการคิดวิเคราะห์ทางการเรียนวรรณกรรมไทยคิดเป็นร้อยละ 78.87 และนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 93.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางการเรียนวรรณกรรมไทยคิดเป็นร้อยละ 82.50 และนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลพร ทองธิยะ และกิตติชัย สุธาสิโนบล. (2564). การพัฒนาการคิดขั้นสูง: ความสามารถทางสติปัญญาที่สำคัญในโลกยุค New Normal. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 28-44.
กัญญาณัฐ สิมสวัสดิ์. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน: กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 2(6), 47-55.
กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2560). จะสอนวรรณคดีอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดมโนทัศน์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(4), 203-213.
ดนิตา ดวงวิไล. (2561). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 12(2), 417-426.
ดำรงศักดิ์ สุดเสน่ห์. (2561). กระบวนการสร้างเสริมศักยภาพการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ตามธรรมชาติวิชาวิทยาศาสตร์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2564). กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน: บทสะท้อนจากประสบการณ์และการเรียนรู้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 2(3), 78-85.
ปทุมมา บำเพ็ญทาน. (2560). รูปแบบการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนรู้ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทยในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา). กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระพันธวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน (ภูมิรัง) และวิทยา ทองดี. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning). วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 967-976.
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน: กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3), 179-191.
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.). (2566). วรรณคดีและวรรณกรรม. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3 การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สุดารัตน์ สันจรรัตน์ และดุจเดือน ไชยพิชิต. (2564). การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารร้อยแก่นสารอะคาเดมี่, 6(7), 160-175.
Bedri, Z, de Frein, R, and Dowling, G. (2017). Community-based learning: A prtmer. Irish Journal of Academic Practice, 6(1), Retrieved June 17, 2022. from https://arrow.dit.ie/ijap/vol6/iss1/5.
Bloom, Benjamin, S. (1956). Taxonomy of Educstion Objective Handbook i. Cognitive Domain. New York: David Mackey.
Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong: Deakin University Press.
Watson, G. and Glaser, E.M. (2006). Watson-Glaser Critical Thinking Appraisal Manual: Form Ym and Zm. New York: Harcout Brace and World Inc.