การพัฒนาแอปพลิเคชันฝึกการวาดเส้นด้วยกระบวนการควบคู่ สำหรับเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง

Main Article Content

ณัฐพงศ์ ศรีภูงา
ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์
ปริญญา เรืองทิพย์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันฝึกการวาดเส้นด้วยกระบวนการควบคู่สำหรับเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) เปรียบเทียบคะแนนความถูกต้องขณะทำกิจกรรมการทดสอบความคิดสร้างสรรค์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ในกิจกรรมภาพสิ่งของ                   ภาพสัตว์ และภาพคน ภายหลังการฝึกระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ 3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพลังงานสัมพัทธ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองช่วงความถี่อัลฟาของตำแหน่งขั้วไฟฟ้าสมองซีกซ้ายกับสมองซีกขวาในกลุ่มทดลองภายหลังการฝึก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษา อายุระหว่าง 10 – 12 ปี จำนวน 60 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แบ่งเป็นกลุ่มละ 30 คน                  ด้วยการสุ่มอย่างง่าย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่                   แอปพลิเคชันฝึกการวาดเส้นด้วยกระบวนการควบคู่ และกิจกรรมการทดสอบความคิดสร้างสรรค์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์                  ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบหลายตัวแปร และการวิเคราะห์ดัชนี ความตรงตามเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) แอปพลิเคชันฝึกการวาดเส้นด้วยกระบวนการควบคู่เป็นการฝึกการวาดเส้น ภาพการ์ตูนและภาพเหมือนจริง เรียงจากง่ายไปยาก และผ่านเกณฑ์การประเมินค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 2) คะแนนความถูกต้องในกลุ่มทดลองภายหลังการฝึกสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ในกลุ่มทดลองภายหลังการฝึกมีค่าเฉลี่ยพลังงานสัมพัทธ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองช่วงความถี่อัลฟาของตำแหน่งขั้วไฟฟ้าสมองซีกขวาสูงกว่าซีกซ้าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ แสดงให้เห็นว่า แอปพลิเคชันฝึกการวาดเส้นที่พัฒนาขึ้นด้วยกระบวนการควบคู่สามารถนำไปใช้สำหรับเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาได้อย่างเหมาะสม

Article Details

How to Cite
ศรีภูงา ณ. ., เทพสถิตย์ภรณ์ ศ. ., & เรืองทิพย์ ป. . (2023). การพัฒนาแอปพลิเคชันฝึกการวาดเส้นด้วยกระบวนการควบคู่ สำหรับเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 5(3), 521–533. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/270969
บท
บทความวิจัย

References

Chrysikou, E. G., Jacial, C., Yaden, D. B., van Dam, W., Kaufman, S. B., Conklin, C. J., & Newberg, A. B. (2020). Differences in brain activity patterns during creative idea generation between eminent and non-eminent thinkers. Neurolmage, 220, 117011.

Darda, K. M., Christensen, A. P., & Chatterjee, A. (2023). Does the frame of an artwork matter? Cultural framing and aesthetic judgments for abstract and representational art. Psychology of Aesthetics, Creativity, and the Arts. https://doi.org/10.1037/aca0000569

Jingyuan Ren, Furong Huang, Chuanji Gao, Jarrod Gott, Sarah F Schoch, Shaozheng Qin, Martin Dresler, & Jing Luo. (2023). Functional lateralization of the medial temporal lobe in novel associative processing during creativity evaluation. Cerebral Cortex, 33(4), 1186–1206.

Panesi, S., & Morra, S. (2018). Relationships between the early development of drawing and language: the role of executive functions and working memory. The Open Psychology Journal, 11(1), 15-24.

Welke, D., Purton, I., & Vessel, E. A. (2023). Inspired by art: Higher aesthetic appeal elicits increased felt inspiration in a creative writing task. Psychology of Aesthetics, Creativity, and the Arts, 17(3), 261–277.

Yadav, S., Chakraborty, P., & Mittal, P. (2022). Designing drawing apps for children: Artistic and technological factors. International Journal of Human Computer Interaction, 38(2), 103-117.

Zhou, J., Wang, X. M., Bavato, D., Tasselli, S., & Wu, J. (2019). Understanding the receiving side of creativity: A multidisciplinary review and implications for management research. Journal of Management, 45(6), 2570-2595.

Zhang, X., Cheng, L., Dai, D. Y., Tong, W., & Hu, W. (2020). Adolescents with different profiles of scientific versus artistic creativity: Similarity and difference in cognitive control. Thinking Skills and Creativity, 37, 100688.