คุณภาพชีวิตและความมั่นคงในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานยุคโควิด-19 ของผู้มีงานทำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานยุคโควิด-19 ของผู้มีงานทำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความมั่นคงในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานยุคโควิด-19 ของผู้มีงานทำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากผู้มีงานทำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ผู้ทำงานเอกชนในนิคมอุตสาหกรรม ผู้ทำงานเอกชนในเขตประกอบการอุตสาหกรรม และผู้ทำงานนอกนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม จำนวน 400 ชุด ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยงานวิจัยนี้ได้ผ่านการยกเว้นพิจารณาจริยธรรม โครงการวิจัย เลขที่ IRB-RUS-2565-045 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ประกอบด้วย ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน (b = 0.171, b = 0.167, b = 0.420, b = 0.190 ตามลำดับ) และ 2) ปัจจัยความมั่นคงในการทำงาน ประกอบด้วย ด้านค่าตอบแทน ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ และด้านสวัสดิการ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน (b = 0.209, b = 0.465, b = 0.211 ตามลำดับ) ดังนั้นหากผู้บริหารองค์กรให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงในการทำงานสูงย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ในการสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีให้กับองค์กร รวมทั้ง เป็นการธำรงค์รักษาบุคลากรที่ดี มีความรู้ความสามารถให้อยู่กับองค์กรตลอดไปได้อีกด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลรัตน์ จิรวิเศษสกุล. (2561). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรส่วนกลาง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมุษย์. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์, 1(1), 35-52.
กิตติศักดิ์ ทองหล้า และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2564). คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรสังกัดสำนักงานการคลัง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(2), 118-128.
ณภัสพิมุกจ์ ศรีษะเสือ. (2561). ความสุขที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรสำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1(2), 74-85.
ดวงกมล วิเชียรสาร และธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าในอาชีพของผู้แทนยาบริษัทยาข้ามชาติในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวาดิเรียล, 12(6), 1192-1213.
ทิพวรรณ เมืองใจ. (2560). สุขภาพจิตที่เปลี่ยนไป กับสังคมที่เปลี่ยนแปลง. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 10(พิเศษ), 263-276.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธีระศักดิ์ ทรัพย์ประเสริฐ, อดิศัย วรรธนะภูติ, ชนาถณัฎฐ์ ผลดี, และจันทนา แสนสุข. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 15(2), 1-15.
แน่งน้อย สมเจริญ และดวงรัตน์ มนไธสง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข้อมูลด้านบุคคล องค์กร สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม การสนับสนุนทางสังคม และความเข็มแข็งในการมองโลกกับความมั่นคงในการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 202-208.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาส์น.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย.
ปิรัญชนาถ เฮ่ประโคน และอารีย์ นัยพินิจ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างสวัสดิการการการทำงานและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข., 10(1), 42-58.
พงศ์เทพ ประสพเหมาะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 2 (สระบุรี). วารสารไตรศาสตร์, 7(1), 1-13.
พระครูโกศลธรรมานุสิฐ, พระครูโสภณวีรานุวัตร, พระครูวิบูลย์เจติยานุรักษ์, และเอกมงคล เพ็ชรวงษ์. (2562). ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(1), 77-88.
พระปลัดสุรศักดิ์ ปราโมทย์วรพันธุ์, ฉัชศุภางค์ สารมาศ, พระมงคลธรรมวิธาน, สุทน ทองเล็ก, และ วิญญู กินะแสน. (2565). มาตรการการป้องกันไวรัสโคโรน่า-โควิด 19 ตามหลักพุทธธรรม. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(2), 54-64.
พสชนันท์ บุญช่วย และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). อิทธิพลของความสุขในการทำงาน ความไว้วางใจในองค์กร และความมั่นคงในงานส่งผลต่อความผูกพันและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทผลิตอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี. วารสารวาดิเรียล, 11(2), 867-885.
พิชญา แก้วสระแสน และไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยในการทำงาน ความเครียด และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวาริเดียล, 10(1), 1043-1507.
พิพรรธน์ พิเชฐศิรประภา, ชัยฤทธิ์ ทองรอด, นรินทร สมทอง, และวัฒนา พิลาจันทร์. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในเขตภาคตะวันออกเพื่อรองรับ AEC. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 11(2), 383-394.
ภรัณยู อภิมนต์บุตร, ศุภฤกษ์ สุขสมาน และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2566). คุณภาพชีวิตในการทำางานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจากที่บ้านของบุคลากรในสายสำานักงานกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 8(1), 97-111.
รัตนา เฮงสุวรรณ, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, & ธานี แก้วธรรมานุกูล. (2559). ความสามารถในการทำงานและภาวะสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. วารสารพยาบาลสาร, 43(พิเศษ), 116-128.
รัตนาภรณ์ ภู่เจนจบ. (2565). อิทธิพลของการปรับตัวจากผลกระทบโควิด-19 ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 5(2), 1-18.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพรส จำกัด
สาลินี ทิพย์เพ็ง และ กุลดารา เพียรเจริญ. (2565). พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวในการเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา หลังวิกฤติโควิด-19. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(3), 428-442.
สำนักงานแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2565). สถานการณ์แรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไตรมาส 3 ปี 2565. สืบค้น 15 มิถุนายน 2565. จาก http://Ayutthaya.mol.go.th.
สุดารัตน์ สุบิน, & กรเอก กาญจนาโภคิน. (2563). คุณภาพชีวิตการทำงานกับประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม. LawarathSocialE –Journal, 5(1), 77-88.
โสรยา สุภาผล, สุวรรณี หงษ์วิจิตร, ลัดดาวัลย์ สำราญ, ชุลีพร ลักขณาพิพัฒน์, และเพ็ญพิชชา โพธากุล. (2564). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานและปัจจัยการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 211-225.
อนุรักษ์ เรืองรอบ. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในภาคตะวันออกของไทย. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(2), 5-11.
Rovinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1977) On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research, 2, 49-60.