การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะที่จำเป็นของครู ในยุคที่โลกมีความพลิกผัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะที่จำเป็นของครู ในยุคที่โลกมีความพลิกผัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม จำนวน 364 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่หนึ่ง
ผลการวิจัยพบว่า ทุกองค์ประกอบสมรรถนะที่จำเป็นของครู ในยุคที่โลกมีความพลิกผัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดประกอบด้วย สมรรถนะคุณธรรม รองลงมา ได้แก่ สมรรถนะการมองโลกและทัศนคติเชิงบวก สมรรถนะความเชื่อมั่นที่จะฝ่าฟันสถานการณ์ไม่แน่นอน สมรรถนะการนำตนเอง สมรรถนะภาวะผู้นำทางการศึกษา ความสามารถในการจัดลำดับความสำคัญของวิกฤตต่าง ๆ ความคล่องตัวในการจัดการเรียนรู้ และการทำงานเป็นทีม ตามลำดับ และองค์ประกอบสมรรถนะที่จำเป็นของครูในยุคที่โลกมี ความพลิกผัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ไคสแควร์ = 10.85, p = .37, df = 10 ค่าสถิติไคสแควร์สัมพัทธ์ = 1.08, GFI = .99, AGFI = .97, NFI = 1.00, CFI = 1.00, RMSEA = .015, RMR = .013
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลวรรณ จันทร. (2564). การบริหารสถานศึกษายุคโลกพลิกผัน ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล. การประชุมวิชาการนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ, 14(1), 1002.
จตุรงค์ กอบแก้ว. (2565). VUCA World โลกที่ผันผวนและสลับซับซ้อนยิ่งกว่า Disruption. สืบค้น 25 ตุลาคม 2565. จาก https://www.salika.co/2022/07/29/vuca-world/.
ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์. (2565). จาก VUCA world สู่ BANI. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/business/business/1033959.
ชูชาติ มงคลเมฆ. (2561). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ธนวิชญ์ แก่นท้าว. (2561). การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 3(2), 90.
ธนิกานต์ สุขวัฒน์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากรครูที่ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนกฤต อั้งน้อย. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พจนารถ พรเจริญวิโรจน์. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธิ์ของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 240.
พิชชาภา เกาะเต้น. (2563). ผลกระทบของการทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการรับรู้การสนับสนุน จากองค์การ ที่ส่งผลต่อความผูกพัน และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท โตโยต้านครธน จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: ศิลปากร.
ภัทราพร มหาพรหม. (2562). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอ่างทอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: สงขลานครินทร์.
มักตา จะปะกิยา. (2561). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะครูสามัญในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสังกัดสานักงานการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: สงขลานครินทร์.
มัลลิกา จอมจันทรกานต์. (2561). การพัฒนาสมรรถนะครูมัธยมศึกษาสู่ประชมคอาเซียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มารุต ทรรศนากุล. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูที่สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโครงการโรงเรียนประชารัฐ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วนิดา ภูวนารถรักษ์. (2553). สมรรถนะครูไทย. วารสารรามคำแหง. 26(5): 61-71.
วิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์. (2552). คุณภาพครูและคุณภาพการศึกษา. สืบค้น 15 ธันวาคม 2565. จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/11262.
วรรณนิภา วงศ์วาสดิ์. (2560). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิริชัย กาญจนาวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์, และดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพร โทบุตร. (2563). ปัจจัยการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). กรอบสมรรถนะครูเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ซี-ทีซีเอฟ). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ออนป้า จำกัด.
อริยา คูหา และ หริรักษ์ แก้วกับทอง. (2559). สมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ใน รายงานวิจัย. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อุษา พรหมรินทร์. (2561). การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของครูในสถานศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Preeti Nair. (2017). [A Study on Identifying Teaching Competencies and Factors Affecting Teaching Competencies with Special Reference to MBA Institutes in Gujarat]. (Doctor’s Thesis) Gujarat Technological University.
Giles, Sunnie. (2018). How VUCA Is Reshaping The Business Environment, And What It Means For Innovation. สืบค้น 25 ตุลาคม 2565. จาก https://www.forbes.com.
UNESCO. (2022). ยูเนสโกประกาศ ‘การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน’ ต้องเป็นองค์ประกอบหลักของระบบการศึกษาทุกระดับภายในปี 2568. สืบค้น 15 ธันวาคม 2565. จาก https://www. sdgmove.com/2021/06/16/berlin-eclaration-on-education-for-sustainable-development-unesco/.